การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล เพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ เรื่อง การอ่านและเขียนสะกดคำ รายวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้านนาแกบึงเหล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.หาประสิทธิภาพในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล เพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ เรื่อง การอ่านและเขียนสะกดคำ รายวิชาภาษาไทย ตามเกณฑ์ 80/80 2.หาประสิทธิผลในสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล เพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ เรื่อง การอ่านและเขียนสะกดคำ รายวิชาภาษาไทย 3.เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล เพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ เรื่อง การอ่านและเขียนสะกดคำ รายวิชาภาษาไทย 4.ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล เพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ เรื่อง การอ่านและเขียนสะกดคำรายวิชาภาษาไทย ประชากร ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนบ้านนาแกบึงเหล็ก จำนวน 105 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านนาแกบึงเหล็ก ระดับประถมศึกษา จำนวน 37 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1.แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านและเขียนสะกดคำ รายวิชาภาษาไทย เวลา 10 ชั่วโมง 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้านการอ่านและเขียนสะกดคำ รายวิชาภาษาไทย จำนวน 20 ข้อ เป็นข้อสอบแบบปรนัย 3. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนจำนวน 20 ข้อ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลมีค่าเท่ากับ 84.05/83.51 (E1/E2) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80 2)ประสิทธิผล (E.I) ของสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล มีค่าเท่ากับ 0.57 ซึ่งแสดงว่า หลังการเรียนผู้เรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 57 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อเขียนหรือบทความใดๆ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Online) ฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นเฉพาะส่วนตัวของผู้เขียนและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และวารสารวิจัยและพันาอนุภูมิภาค ลุ่มน้ำโขง (Online) ไม่มีข้อผูกพันธ์ประการใดๆ อนึ่งกองบรรณาธิการวารสารยินดีรับพิจารณาบทความจากนักวิชาการ นักศึกษา ตลอดจนผู้อ่าน และผู้สนใจทั่วไป เพื่อนำลงตีพิมพ์ สำหรับบทความจะผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2560-2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
ไกรษร ประดับเพชร (2561). การพัฒนาแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. ขอนแก่น : โรงเรียนไตรคามประชาสรรค์.
ขจรพงษ์ ร่วมแก้ว. (2562).การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการเรียนรู้.พิมพ์ครั้งที่ 1.มหาสารคาม: ชัยมงคลปริ้นติ้ง
ชโรชีนีย์ ชัยมินทร์และพิชญาภา ยวงสร้อย. (2562).การส่งเสริมการอ่านในโรงเรียนยุคดิจิทัล.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 21(3) ,359
ดวงลดา จุมปาดง และคณะ. (2559). วิจัยปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านงิ้วสูง อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ โดยสื่อสร้างสรรค์ (Creative Media Teaching) [ออนไลน์] เข้าถึง http://mylanguagethailand.blogspot.com/2017/04/creative-media-teaching.html [26 สิงหาคม 2564]
ณัฐพล รำไพ. (2561). นวัตกรรม ฉบับนักเทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: วิสต้า อินเตอร์ ปริ้นท์.
พรศักดิ์ ดีคำปา และคณะ. (2563). การพัฒนาศักยภาพด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 โดยใช้แบบเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการประสมคํา. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ 13(1),62
พิษณุ จงเจริญ และณัฐพล รำไพ. (2564).การพัฒนาสื่อการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม ในรายวิชาภาษาไทยพื้นฐานเรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเล่าเรื่องผ่านสื่อดิจิทัลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 6(1),47
ฉัตรธิดา ศัพทเสวี และ สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนมาตราตัวสะกดของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดราชปักษีที่สอนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ 8(1),103-117.
วชิราพรรณ แก้วประพันธ์และคณะ. (2559). เกมการศึกษาที่ใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือบนโทรศัพท์เคลื่อนที่. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี ปีที่ 12 ฉบับที่ 6 วาระพิเศษ (สิงหาคม 2559).
วัชรพล หลาวเหล็ก, ปพิชญา พรหมกันธา, พัทธนันท์ พาป้อ (2564). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคําควบกล้ำโดยใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองแดง (คุรุราษฎร์บําเพ็ญ) อําเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม 2(6),26.
สิริวัจนา แก้วผนึก. (2560). รูปแบบการพัฒนามรดกดิจิทัลด้วยกระบวนการเล่าเรื่องแบบดิจิทัลแบบสืบสอบอย่างมีวิจารณญาณบนเว็บ 3.0 เพื่อส่งเสริมการรู้ดิจิทัลของนิสิตนักศึกษาสารสนเทศศาสตร์ปริญญาบัณฑิต.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).(2563). ผลคะแนน O-net สืบค้นวันที่ 26 ธันวาคม 2564 เว็บไซต์ https://www.niets.or.th/th/
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. (2563). ผลจากการประเมินคุณภาพผู้เรียนด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยของโรงเรียนในจังหวัดนครพนม.สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2564 จาก เว็บไซต์ http://junpen.esdc.go.th/
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, (2564).ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) สืบค้นวันที่ 26 ธันวาคม 2564 เว็บไซต์ https://www.nesdc.go.th/Lister, et al. (2009). New media: A critical introduction. New York:
Routledge.