ความเชื่อคู่ความรู้ป่าคู่สุขภาพ : การใช้ประโยชน์สมุนไพรจากป่าชุมชนดงคำเฮือ อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ประเทศไทย

Main Article Content

พรพิมล ควรรณสุ
กัญลยา มิขะมา
ชนิดา ยุบลไสย์
ชนาพร รัตนมาลี
เมธี วงศ์หนัก

บทคัดย่อ

            ภูมิปัญญาด้านการใช้สมุนไพรรักษาเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับการพิสูจน์ทางการแพทย์ที่สามารถนำมาใช้รักษาควบคู่กับการแพทย์แผนปัจจุบันได้องค์ความรู้ของหมอยาพื้นบ้านเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ สืบทอดกันมานานบนพื้นฐานความเชื่อ และระบบวัฒนธรรม ภูมิปัญญาด้านการรักษาจากอดีตที่ผ่านมาจนปัจจุบัน การพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพของหลายๆ ชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงพึ่งพิงใช้ประโยชน์จากป่าและสมุนไพร บทความนี้มุ่งนำเสนอการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชุนทั้งในด้านการเป็นพืชสมุนไพรบนฐานความเชื่อ ความรู้ของหมอยาและคนในชุมชน โดยการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมพืชสมุนไพร ที่มีพื้นที่ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยการสำรวจพันธุ์พืชในป่าชุมชนที่เป็นตัวแทนระบบนิเวศ ดำเนินการเก็บรวมรวมข้อมูลในช่วงเดือนกันยายน 2561-สิงหาคม 2562 โดยลงพื้นที่สำรวจ 3 ครั้ง ในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม และกันยายน พ.ศ.2562 การร่วมสำรวจพื้นที่ป่าชุมชนมีประชาชนบ้านคำไฮ (ผู้ใหญ่บ้าน) และปราชญ์ชาวบ้าน (หมอยา) จำนวน 16 คน จากนั้นได้จัดเวทีคืนข้อมูลชุมชนและสัมภาษณ์เชิงลึก (indebt interview) ด้านการพึ่งพิง หรือใช้ประโยชน์ป่าชุมชน โดยหมอยาและประชาชนทั่วไป จำนวน 24 คน ในช่วงเดือนสิงหาคม 2562 และ กุมภาพันธ์พ.ศ.2563 พบว่า ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าชุมชนดงคำเฮือ ตำบลรามราช อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม มีความหลากหลายของพืชสมุนไพรที่เป็นยา อาหาร และเครื่องหอม จำนวน 59 ชนิด สมุนไพร 33 ชนิดที่หมอยามีองค์ความรู้ในการใช้ประโยชน์ทางยา และสมุนไพร 6 ชนิด ที่ไม่ทราบประโยชน์ทางยา ด้านความเชื่อในวิธีการเก็บหาพืชสมุนไพรคือกุศโลบายของการคงไว้ การรักษา การขยายพันธุ์พืชสมุนไพร โดยก่อนขุดสมุนไพรหมอยาจะมีบทพูดกับเจ้าที่ป่าทุกครั้ง และมีความเชื่อว่าการไปขุดสมุนไพรเป็นการไปขอยา ดังนั้นจึงไม่มีการตั้งราคารักษา องค์ความรู้หลักด้านการใช้พืชสมุนไพรเพื่อปรุงยาการรักษาโรค ได้แก่ ยาบำรุงเลือด ยาบำรุงกำลัง ยาแก้ปวดหัวเข่า ยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ เรือนก้อน และฐิติมา บุญมา.(2557). การประเมินมลูค่าทางเศรษฐศาสตร์ของป่าชุมชน:กรณีศึกษาบ้านนากอก อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

กรุณา จันทุม กัลยารัตน์ ก าลังเหลือ. (2560). การรักษาโรคด้วยสมุนไพรและต ารับยาโบราณของหมอพื้นบ้าน. J Med Health Sci Vol. 24 No. 2 August 2017.

กวินธร เสถียร นิสาพร วัฒนศัพท์ และ เสวียน เปรมประสิทธิ์. 2555. การใช้ประโยชน์ทรัพยากรพรรณพืชของชุมชนในพื้นที่เขื่อนสิริกิติ์. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน. 5 (1) :74-90.

ก่องกานดา ชยามฤต. (2550). ลักษณะประจำวงศ์พรรณไม้-Key Characters of Plant Families. กรุงเทพฯ: อรุณการ พิมพ์.

เจนจิรา พวงมาลี.(2556). มูลค่าการใช้ประโยชน์ของป่าชุมชนบ้านเขาเขียว ตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัด

สุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ณรงค์ศักดิ์ พิทักษ์ตันสกุล วิลาศ คาภาวงษ์ และ ประสิทธิ์ มั่นมงคล. (2553). ความหลากหลายพรรณพืชและการใช้ประโยชน์ด้านพืชอาหารและพืชสมุนไพรในป่าชุมชนเขาเตียน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยพืชเขตร้อน. 3: 59-66.

เต็ม สมิตินันท์. (2554). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย ฉบับแก้ไขเพิมเติม พ.ศ. 2544= Thai Plant Names. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้.

ไทยตำบลดอทคอม. (2551). ข้อมูลตำบล.สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564 http://www.thaitambon.com/tambon/480312

ธัญญาภรณ์ บุญเสริม. (2550). การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์จากการใช้ประโยชน์ของป่าชุมชน บ้านสามขา จังหวัดลำปาง. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้

นวพรรษ ผลดี และ วรชาติ โตแก้ว. (2560). ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรดูแลสุขภาพเบื้องต้นในชุมชนพื้นที่ป่าชุมชนบ้านหินฮาว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. รายงานวิจัยหมวดงบอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดินด้านการวิจัย ปีงบปะมาณ 2559.มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม

พัฒน์นฤมล เดชขา.(2559). การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของป่าชมุชน กรณีศึกษาบ้านนากอก อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน. เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ภัทร วาศนา กมลทิทย์ สวรรณเดช สวาท ศิลปรายะ และ จิรภรณ์ บุญมาก. (2560). บันทึกภูมิปัญญา’ หมอพื้นบ้าน กรณีหมอสอย เพชรฤทธิ์ จังหวัดนครพนม. กองการแพทย์พื้นบ้าน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.

ยุทธนา ทองบุญเกื้อ. (2551). ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพร ในวนอุทยานถ้ำเพชร- ถ้ำทอง อำเภอตาคลีจังหวัดนครสวรรค์. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษที่ 12 (นครสวรรค์) กรมอุทยานแหงชาติ สัตวป่าและพันธุพืช

สมหญิง สุนทรวงษ์.(2557). ป่าชุมชนกับสังคมไทย . ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า-ประเทศไทย สืบค้นเมื่อ วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 จาก

https://archive.recoftc.org/sites/default/files/uploaded_files/2%20%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%

B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B

%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0

%B8%97%E0%B8%A2_%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8

%87.pdf

สุภาวรรณ วงค์คำจันทร์. (2558). ความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชุมชน ตำบลสวนเมี่ยง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร. 17(1): 63-74.

อรทัย เนียมสุวรรณ. (2557). พืชสมุนไพร:ความเชื่อในการเลือกใช้ตามภูมิปัญญาชาวใต้ สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2563 จาก http://www.ttmed.psu.ac.th/blog.php?p=144

อังคณา อินตา. (2561). คู่มือต้นแบบการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ กรณีศึกษาพืชสมุนไพรของป่าชุมชน จังหวัดแม่ฮ่องสอนและน่าน. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. หจก.วนิดาการพิมพ์ กทม.

Keonouchanh, S. (2002). Genetic Analysis of Sows Longevity and Lifetime Productivity in Two Purebred Swine Herds. (MS Thesis, Chulalongkorn University)

Habibur Rahman, Mizanur Rahman, Mamrul Islam & Sumon Reza (2011): The importanceof forests to protect medicinal plants: a case study of Khadimnagar National Park, Bangladesh, International Journal of Biodiversity Science, Ecosystem Services & Management, 7:4, 283-294 ( Online). https://doi.org/10.1080/21513732.2011.645071