สยามกับการปกครองหัวเมืองฝั่งขวาแม่น้ำโขง พุทธศักราช 2318 – 2441

Main Article Content

ปริญ รสจันทร์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยเรื่องสยามกับการปกครองหัวเมืองฝั่งขวาแม่น้ำโขง พุทธศักราช 2318 – 2441มีวัตถุประสงค์ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาบริบททางประวัติศาสตร์ของหัวเมืองฝั่งขวาแม่น้ำโขง พุทธศักราช 2318 – 2441 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้สยามมีอำนาจเหนือหัวเมืองฝั่งขวาแม่น้ำโขง พุทธศักราช 2318 – 2441 3) เพื่อศึกษาผลจากการปกครองหัวเมืองฝั่งขวาแม่น้ำโขงพุทธศักราช 2318 – 2441 โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Research) และใช้แบบบันทึกเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล
           ผลการวิจัยพบว่า 1) หัวเมืองฝั่งขวาแม่น้ำโขง เกิดจากความขัดแย้งของราชสำนักล้านช้างเวียงจัน จึงเกิดการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนอีสาน จากนั้นจึงได้รับการจัดตั้งและรับรองจากราชสำนักสยามให้กลายเป็นเมือง 2) ปัจจัยที่ส่งผลให้สยามมีอำนาจเหนือหัวเมืองฝั่งขวาแม่น้ำโขง คือการที่ผู้นำพื้นเมืองต่างต้องการอำนาจของสยามเพื่อรับรองสิทธิในการปกครองของตน 3) ผลจากการปกครองหัวเมืองฝั่งขวาแม่น้ำโขงพุทธศักราช 2318 – 2441 คือ ชนชั้นนำพื้นเมืองมีความอ่อนแอ ผู้คนลำบากเดือดร้อนจากการเร่งผลิตและการถูกเก็บส่วย ในขณะที่การปิดบังจำนวนผู้คนของผู้ปกครองพื้นเมืองส่งผลให้สยามได้ส่วยไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยจนในสมัยรัชกาลที่ 3 สยามต้องเริ่มส่งคนจากส่วนกลางเข้ามาสำรวจจำนวนผู้คนที่แท้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เติม วิภาคย์พจนกิจ. (2546) . ประวัติศาสตร์อีสาน. กรุงเทพ ฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ธนัญชัย รสจันทร์. (2460). สภาพเศรษฐกิจของเมืองอุบลราชธานี ระหว่าง พ.ศ. 2335-ทศวรรษที่ 2460. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร

บุญจิตต์ ชูทรงเดช. (2545). ขบวนการค้าของกุลาร้องไห้ทุ่งกุลาอาณาจักรเกลือ 2,500 ปี. กรุงเทพ ฯ : มติชน.

ปริยัติวรเมธี และคณะ. (2562). หลักคำ : เปรียบเทียบฉบับเมืองสุวรรณภูมิกับฉบับเมืองร้อยเอ็ด. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ ๑ พระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน, 22 กุมภาพันธ์ 2562. (น. 1367–1380). วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ มีกุศล. (2517). การปฏิรูปการปกครองมณฑลอีสานในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์เฟื่องอักษร.

เหลา ณ ร้อยเอ็ด. (2509). พงศาวดารภาคอีสาน. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นกรมการปกครอง.