นวัตกรรมทางการศึกษาโดยใช้ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะกระดาษ เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก สำหรับนักเรียน

Main Article Content

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาโดยใช้ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะกระดาษเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก สำหรับนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบกล้ามเนื้อเล็กของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะกระดาษ ระหว่างก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเขานางสางหัว ตำบลเลาขวัญ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1) แผนการจัดประสบการณ์ประกอบการใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะกระดาษ (2) คู่มือนวัตกรรมทางการศึกษาโดยใช้ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะกระดาษเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.83 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน
         ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ (1) นวัตกรรมทางการศึกษาโดยใช้ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะกระดาษเพื่อ พัฒนากล้ามเนื้อเล็ก สำหรับนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  มีประสิทธิภาพ  81.38/81.94  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) กล้ามเนื้อเล็กของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 1 ที่เรียนด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะกระดาษหลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์

นนทบุรี

References

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, แสงระวี จรัสน้อยศิริ, สุรพล หิรัญพต และแก้วใจ พิชชามณฑ์. (2565). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาบทเรียน M–Learning ร่วมกับรูปแบบการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เรื่อง สถานที่สำคัญและแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสาครชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบางปลา. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ, 5(3), 28-40.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, จุฑารัตน์ นิรันดร, ณัฐวุฒิ อัตตะสาระ, ปิยพัทธ์ สุปุณณะ และจันทนา มุกดาศุภณัฏฐ์. (2565). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการใช้สื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ "ตู้เทคโนโลยีดิจิทัลอัจฉริยะ" เรื่อง การปฏิบัติตนตามบรรทัดฐานและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดพระขาว (ประชานุเคราะห์). วารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์, 5(2), 22-32.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, ชมภูนุช พัดตัน, กาญมณี เพ็ชรมณี, ณภาพัช ราโชกาญจน์, ศุภชัย รวมกลา และกอบการณ์ อาจประจันทร์. (2565). การบริหารงานวิชาการบทเรียนสําเร็จรูปของชั้นประถมศึกษาโรงเรียนบ้านหนองลุมพุก จังหวัดชัยภูมิ. วารสารครุทรรศน์, 2(3), 41-52.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, ทรงชัย ชิมชาติ, หยาดพิรุณ แตงสี, อมรเทพ สมคิด และชาญวิทย์ อิสรลาม. (2565). การพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนรู้เรื่องโคกหนองนาโมเดล ตำบลจันดุม อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ในกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสำโรง โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์. วารสารนวัตกรรมการศึกษาในอนาคต, 1(1), 47-58.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, วีรเทพ ชลทิชา, วัชร์ธิดา ศิริวัฒน์ และปรีญา ศรีจันทร์. (2565). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4เรื่องห่วงโซ่อาหาร (Food Chain) โดยใช้สื่อวิดีโอ(VDO) ผ่านแอปพลิเคชั่นสําหรับเรียนรู้ผ่านวีดีทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์. วารสารวิจัยศิลปวิทยาการลุ่มน้ำโขง

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล และพงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2564) . การพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลรายวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับผู้เรียนระดับปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจ. วารสารศิลปะศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 4(2), 427-442.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, อภิสิทธิ์ ทุริยานนท์, อรอนงค์ โพธิจักร,อพิเชษฐ กิจเกษมเหมิ และปวีณา จันทร์ไทย. (2565).นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E -Learning) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนจิ่นเต๊อะแก่งคอย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 14(2), 28-42.

บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2558). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กาฬสินธุ์: ตักสิลาการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บุญมา แพ่งศรีสาร. (2018). บทบาทกระทรวงศึกษาธิการกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของชาติ. MCU Haripunchai Review, 2(1), 130-140.

ประภาศิริ สิงห์ครุ, พอเจตน์ ธรรมศิริขวัญ และอังคณา กุลนภาดล. (2020). ผลการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่มีต่อความสามารถการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและภาษาของเด็กวัยอนุบาล. วารสารบัณฑิตวิจัย, 11(2), 81-93.

ปรารถนา กุศลโกมล และสุรสา จันทนา. (2566). การ พัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 7(3), 155-164.

ภิดาวรรณ เพ่งรุ่งเรืองวงษ์ (2550). คู่มือการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยใช้กิจกรรมศิลปะจากวัสดุท้องถิ่นของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านประตูน้ำพระพิมล.

รดา คลังทรัพย์, บุญเลิศ วีระพรกานต์ และมะลิวัลย์ โยธารักษ์. (2566). แนวทางการบริหารหลักสูตรเพื่อส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อเล็กสำหรับเด็กที่ มีความต้องการจำเป็นพิเศษศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 10(5), 289-300.

เลิศ อานันทะ( 2535). การพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อารี พันธ์มณี. (2560). จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ใยไหม.