การพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอัตลักษณ์พื้นที่ของอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชั่นส่งเสริมการท่องเที่ยวในอำเภอนาหว้า โดยสร้างแอพพลิเคชั่น แยกตามหมวดหมู่ประกอบไปด้วย 1. สถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม สถานที่ท่องเที่ยววธรรมชาติ 2. ที่พัก มีข้อมูลที่พักหรือโรงแรม 3.ร้านอาหาร มีข้อมูลรร้านอาหาร เป็นร้านอาหารทั่วไปและร้านอาหารพื้นถิ่น 4.ภูมิปัญญา มีข้อมูลภูมิปัญญาวัฒนธรม นอกจากนี้ยังมีทริปการเดินทาง มีข้อมูลประกอบการวางแผนการเดินทางในอำเภอนาหว้า และศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้แอพพลิเคชั่น โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชากรอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม จำนวน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้แอพพลิเคชั่นแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอนาหว้าสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า แอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า นาหว้าพาเลาะ โดยใช้เครื่องมือในการพัฒนาแอพพลิเคชั่น คือ Glide apps เป็นเฟรมเวิร์กในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นและใช้งานได้ทั้ง 2 ระบบ คือ ระบบ iOS, Android บนแอพพลิเคชั่นสามารถแสดงข้อมูลสถานที่ ร้านอาหาร ที่พัก ระบุตำแหน่งของสถานที่ต่างๆเพื่อเป็นตัวช่วยในการนำทาง ผลการศึกษาความพึงพอใจทั้ง 4 ด้าน ทั้งด้านการทำงานของแอพพลิเคชั่น ด้านประโยชน์ในการใช้งานของแอพพลิเคชั่น ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกของแอพพลิเคชั่น และด้านกราฟิกของแอพพลิเคชั่น ผลการใช้งานแอพพลิเคชั่นมีความพึงพอใจมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อเขียนหรือบทความใดๆ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Online) ฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นเฉพาะส่วนตัวของผู้เขียนและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และวารสารวิจัยและพันาอนุภูมิภาค ลุ่มน้ำโขง (Online) ไม่มีข้อผูกพันธ์ประการใดๆ อนึ่งกองบรรณาธิการวารสารยินดีรับพิจารณาบทความจากนักวิชาการ นักศึกษา ตลอดจนผู้อ่าน และผู้สนใจทั่วไป เพื่อนำลงตีพิมพ์ สำหรับบทความจะผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
References
ชนนิกานต์ เขียวคล้าย ฐิติมา นันทะใจ และทิพย์หทัย ทองธรรมชาติ. (2562). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นการท่องเที่ยว 5 อำเภอชายแดนจังหวัดตาก. การประชุมวิชากระดับชาติและนานาชาติ. ศูนย์ประชุมและนิทรรศการนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. (น.783-792). นครสวรรค์. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
นุชรัตน์ นุชประยูร และจิตตภู พลูวัน. (2565). การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชันวางแผนการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาแบบมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวในอำเภอเมืองนนทบุรี. นนทบุรี : สำนักงานส่งเสริมงานวิจัย.
นฤพนธ์ เพ็ชรพุ่ม ทัศนีย์ คัดเจริญ วิชญา รุ่นสุวรรณ์ และนัฏฐพันธ์ นาคพงษ์. (2558). การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นเพื่อการท่องเที่ยวประเทศไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สุธิรา จันทร์ปุ่ม พิเชนทร์ จันทร์ปุ่ม และแพรตะวัน จารุตัน. (2560). การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสกลนครบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 4(2): 115-120.
วุฒิภัทร หนูยอด เจษฎา สิงห์ทองชัย และมานิตย์ สิงห์ทองชัย. (2565). การพัฒนาแอพพลิเคชันแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 14(19): 96-106.
ศศิพิมพ์ ปิ่นประยูร ศศิมาพร ภูนิลามัย กาญจนา ผาพรม และสุขสันต์ พรมบุญเรือง. (2558). แอพพลิเคชั่นแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดกาฬสินธุ์บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. การประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ ภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ 2. ฉะเชิงเทรา : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
อนุวัฒน์ ชมภูปัญญา และธนัสถา โรจนตระกูล. (2565). การพัฒนาศักยภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วมสู่ชุมชนท่องเที่ยวที่ยั่งยืน. Journal of Modern Learning Development. 7(8): 415-429
ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม. (2556). ภูมิภาคชาวไทญ้อนาหว้า นครพนม. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน, 2566 จาก: https://www.banmuang.co.th/news/