การส่งเสริมและวิเคราะห์การบันทึกผลงานคลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Main Article Content

จิณณพัต ชื่นชมน้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและวิเคราะห์การบันทึกผลงานคลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นผลงานทางวิชาการของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ด้วยการหาความถี่ ร้อยละ จากฐานข้อมูลคลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ทั้งหมดจำนวน 1,043 รายการ (ข้อมูล ณ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2567) ผลการส่งเสริมการบันทึกผลงานคลังความรู้ดิจิทัล ด้วยการทำสื่ออินโฟกราฟิกการบันทึกผลงานนำเผยแพร่ให้กับอาจารย์และบุคลากรของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ พบว่าผลงานคลังความรู้ดิจิทัลมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ดังนี้ วันที่ 4  มีนาคม พ.ศ. 2565 จำนวน 528 รายการ วันที่ 18  มกราคม พ.ศ. 2566 จำนวน 805 รายการ และ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2567 จำนวน 1,043 รายการ ซึ่งมีการเพิ่มขึ้นทั้งหมด จำนวน 515 รายการ และการวิเคราะห์การบันทึกผลงานคลังความรู้ดิจิทัล จากการวิเคราะห์ประเภทข้อมูล พบว่าผลงานคลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ที่มีจำนวนสูงสุด ดังนี้ ภาษาไทย จำนวน 602 รายการ (ร้อยละ 57.71) บทความในวารสาร จำนวน 509 รายการ (ร้อยละ 48.80) ผลงานวิจัย จำนวน 962 รายการ (ร้อยละ 92.24) ปีพิมพ์ 2562 จำนวน 133 รายการ (ร้อยละ 12.75) การวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลจากสถิติการใช้งาน พบว่า สถิติการเข้าใช้งานระบบ สูงสุด คือ ปี 2566 สถิติจำนวนผู้เข้าชม จำนวน 63,942 ครั้ง (ร้อยละ 49.70) และสถิติจำนวนการดาวน์โหลด จำนวน 9,327 ครั้ง (ร้อยละ 46.89)  ห้องสมุดคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จึงมีการส่งเสริมการบันทึกผลงานคลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มช่องทางในการเก็บรวบรวมผลงานทางวิชาการและการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของบุคลากรคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สำหรับให้ อาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ได้ใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และเป็นแหล่งอ้างอิงผลงานทางวิชาการในระดับชาติและระดับนานาชาติ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์และกระจายความรู้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
ชื่นชมน้อย จ. (2024). การส่งเสริมและวิเคราะห์การบันทึกผลงานคลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ . PULINET Journal, 11(2), 263–274. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PJ/article/view/822
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. 2555. สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. ธรรมสาร.

จิณณพัต ชื่นชมน้อย. 2566. การสร้างอินโฟกราฟิกในงานบริการห้องสมุด คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารวิชาการ ปขมท., 13(1), 140-152.

เฉลิมเดช เทศเรียน และเบญจมาศ แสนหลวง. 2566. การสร้างกลยุทธ์การส่งเสริมการเข้าถึงสารสนเทศจากคลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บนเฟซบุ๊กแฟนเพจ. PULINET Journal, 10(2), 81-93.

ชัชวาลย์ ฉายยะบุตร (บรรณาธิการ). 2559. ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายด้วย Infographic. บพิธการพิมพ์.

ถิรนันท์ ดำรงสอน สุราภรณ์ คงผล และสุพรรณี หงส์ทอง. 2567 พฤติกรรมการใช้งานและความต้องการของผู้ใช้บริการคลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. PULINET Journal, 11(1), 223-236.

ทิชพร นามวงศ์. 2560. การออกแบบอินโฟกราฟิกเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์. Veridian E-Journal science and technology silpakorn university, 4(4), 14-25.

บ้านเมือง. (2565, 23 สิงหาคม). คลังความรู้ดิจิทัล มก. ได้รับรองคุณภาพ Core TrustSeal เนเธอแลนด์. https://www.banmuang.co.th/news/education/293198

ปราณี หลำเบ็ญสะ. (2559, 11 มิถุนายน). การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล. https://edu.yru.ac.th/evaluate/attach/1465551003_เอกสารประกอบการอบรม.pdf

ปวีณ์ธิดา เนตรหาญ. 2564. การใช้เครื่องมืออินโฟกราฟิกสร้างความผูกพันในกิจกรรมห้องสมุด มสธ. https://pulinet2021.pulinet.org/uploads_file_completely/2020-12-30/pulinet331-IS3.pdf

ภานนท์ คุ้มสุภา. 2558. อินโฟกราฟิกเพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภค ในยุคการตลาดเชิงเนื้อหา. นิเทศศาสตร์และนวัตกรรมนิด้า, 2(1), 155-160.

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (ม.ป.ป.). คลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Kasetsart University Knowledge Repository). https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/kukr/

สุภางค์ จันทวานิช. 2554. การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 10. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุราภรณ์ คงผล และอารีย์ ธัญกิจจานุกิจ. 2562. แนวทางการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาคลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. PULINET Journal, 6(3), 87-96.

สุราภรณ์ คงผล และถิรนันท์ ดำรงสอน. 2566. การยกระดับคุณภาพคลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สู่มาตรฐานสากล Core TrustSeal. PULINET Journal, 10(2), 67-80.

อุไร ไปรฮูยัน และสุพรรษา บุญเกื้อ. 2564. การใช้อินโฟกราฟิกในการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศและบริการของห้องสมุดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง. PULINET Journal, 8(2), 14-24.