จริยธรรมของผู้เขียนบทความ (Ethics of Authors)

1. รับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่ ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างส่งตีพิมพ์กับวารสารอื่น ๆ

2. เขียนบทความที่ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ

3. มีการอ้างอิงท้ายข้อความ และท้ายบทความ ในกรณีที่มีการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้

4. เขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสาร PULINET Journal ได้กำหนดไว้

5. ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการจัดทำผลงานนั้นจริง

6. ระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี)

7. เมื่อบทความได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์แล้ว ผู้เขียนต้องไม่นำบทความไปตีพิมพ์กับวารสารอื่น ยกเว้นกรณีได้ถอนบทความจากวารสาร PULINET Journal อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว

 

จริยธรรมของกองบรรณาธิการ (Ethics of Editorial Board)

1. พิจารณาคุณภาพของบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร

2. ไม่เปิดเผยข้อมูลผู้เขียนและผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ

3. ตัดสินใจเลือกบทความมาตีพิมพ์หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจากความใหม่ และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสารเป็นสำคัญ

4. ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนและผู้ประเมิน

5.  ตรวจสอบการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) ของบทความอย่างจริงจังโดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้

6. หากตรวจพบคัดลอกผลงานของผู้อื่น หรือการกระทำผิดจริยธรรมของการวิจัยในกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมินบทความดังกล่าวทันที และติดต่อผู้เขียนเพื่อขอคำชี้แจงประกอบการพิจารณา “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้น ๆ

 

จริยธรรมของผู้ประเมิน (Ethics of Reviewers)

1. รักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของบทความที่ส่งมาให้พิจารณาแก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ

2. เมื่อได้รับบทความจากบรรณาธิการวารสาร แล้วผู้ประเมินบทความตระหนักดีว่า ตนเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน เช่น เป็นผู้เข้าร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้เขียนเป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ

3. ควรประเมินบทความโดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่จะมีต่อสาขาวิชานั้น ๆ คุณภาพของการวิเคราะห์และความเข้มข้นของผลงาน ไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ

4. ในกรณีที่ผู้ประเมินทราบว่าบทความที่กำลังพิจารณา มีส่วนใดของบทความเหมือนหรือซ้ำซ้อนกับผลงานอื่น ๆ ผู้ประเมินต้องแจ้งให้บรรณาธิการของวารสารทราบ