การวิเคราะห์ความสอดคล้องของทรัพยากรประกอบรายวิชาของคณะวิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย) ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กับทรัพยากรที่มีให้บริการในห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข

Main Article Content

สมภพ แสนสมบูรณ์สุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ภาษา และกลุ่มอายุของทรัพยากรประกอบรายวิชา และวิเคราะห์ความสอดคล้องของทรัพยากรประกอบรายวิชากับทรัพยากรที่มีให้บริการในห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข โดยเปรียบเทียบด้านภาษาและกลุ่มอายุของทรัพยากร โดยรวบรวมข้อมูลรายวิชาที่เปิดสอน จากมคอ.2 ฉบับปรับปรุง ปี 2566 และข้อมูลทรัพยากรประกอบรายวิชา ตามมคอ.3 ในหมวด 6 จากฐานข้อมูลระบบส่งข้อมูลและจัดเก็บข้อมูล มคอ. และเปรียบเทียบกับรายการทรัพยากรที่สืบค้นจากฐานข้อมูลห้องสมุด พบว่า มีจำนวนรายวิชา 519 รายวิชา รายวิชาที่ปรากฏข้อมูลทรัพยากร 344 รายวิชา และมีจำนวนทรัพยากรประกอบรายวิชา 1,242 รายการ เป็นภาษาอังกฤษ ร้อยละ 84.70 ภาษาไทย ร้อยละ 15.30 และวิเคราะห์ตามกลุ่มอายุ พบว่า เป็นกลุ่มอายุ 20 ปีขึ้นไปมากที่สุด (ร้อยละ 38.56) เมื่อวิเคราะห์ความสอดคล้อง พบว่า เป็นทรัพยากรประกอบรายวิชาที่มีให้บริการในห้องสมุดร้อยละ 78.42 และไม่มีให้บริการในห้องสมุดใดเลย ร้อยละ 21.85 เมื่อจำแนกตามสถานะที่มีให้บริการ พบว่า มีให้บริการในห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ร้อยละ 75.36 มีให้บริการในเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล ร้อยละ 18.28 และมีให้บริการเป็นอิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 6.37 และเมื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องด้านภาษา พบว่า เป็นภาษาอังกฤษ ร้อยละ 56.65 และภาษาไทย ร้อยละ 72.63 ส่วนกลุ่มอายุ พบว่า ห้องสมุดมีทรัพยากรประกอบรายวิชาเป็นกลุ่มอายุ 6-10 ปี มากที่สุด (ร้อยละ 31.34) ดังนั้นสรุปผลการศึกษา ได้ว่า ความสอดคล้องในด้านภาษาทรัพยากรประกอบรายวิชาที่มีให้บริการในห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข สนับสนุนกับพันธกิจของคณะฯ ในเรื่องการเป็นเป็นคณะวิทยาศาสตร์ชั้นนำด้านการศึกษา วิจัย และนวัตกรรมคุณภาพสากล เพื่อสร้างประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ ในแง่ของอายุของทรัพยากรประกอบรายวิชา พบว่า กลุ่มอายุ 20 ปีขึ้นไปถูกเลือกนำมาใช้ประกอบรายวิชามากที่สุด ขณะที่ทรัพยากรประกอบรายวิชาของห้องสมุด เป็นกลุ่มอายุ 6-10 ปีมากที่สุด ซึ่งเหมาะสมสำหรับการอ้างอิงในสาขาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งผลจากการศึกษา สามารถใช้เป็นแนวทางประกอบการปรับปรุง มคอ.3 ให้มีความทันสมัยและวางแผนการจัดหาและประชาสัมพันธ์ทรัพยากรประกอบรายวิชาใหม่ ๆ ที่ห้องสมุดมีให้บริการ รวมถึงเปิดโอกาสให้อาจารย์ผู้สอนรายวิชาได้มีส่วนร่วมในการเสนอแนะรายการทรัพยากรประกอบรายวิชาใหม่ ๆ เข้าห้องสมุดมากขึ้นด้วย

Article Details

How to Cite
แสนสมบูรณ์สุข ส. (2024). การวิเคราะห์ความสอดคล้องของทรัพยากรประกอบรายวิชาของคณะวิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย) ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กับทรัพยากรที่มีให้บริการในห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข. PULINET Journal, 11(2), 250–262. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PJ/article/view/794
บท
บทความวิจัย

References

งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข. (2566). โครงสร้างหน่วยงาน. งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข. https://stang.sc.mahidol.ac.th/about/organization.php.

เพียงขอบฟ้า ปัญญาเพ็ชร. (2563). การวิเคราะห์ความสอดคล้องของทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ต่อหลักสูตรการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ = Analysis of the Relevance of Electronic Resources to Support Graduate Study Programs Faculty of Medicine, Chiang Mai University. PULINET Journal., 7(2), 1-15. https://pulinet.oas.psu.ac.th/index.php/journal/article/view/407

มหาวิทยาลัยมหิดล กองบริหารการศึกษา. (2566). หลักสูตรไทย. กองบริหารการศึกษา. https://op.mahidol.ac.th/ea/curriculum/thai_program.

มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์. (2564). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (มคอ). งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพงาน. https://quality.sc.mahidol.ac.th/tqf.

มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์. (2567). แนะนํา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. https://science.mahidol.ac.th/th/aboutsc.php

มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์. (n.d.). ระบบส่งข้อมูลและจัดเก็บข้อมูล มคอ. [เว็บไซต์]. http://databases.sc.mahidol/TQF

ยุพา ดวงพิมพ์., ละออ ข้อยุ่น., มุกดา ดวงพิมพ์. และ ทรรศนีย์ อินทร์ล้ำ. (2562). การวิเคราะห์ความสอดคล้องของทรัพยากรการเรียนการสอนในรายวิชาที่เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับทรัพยากรที่ห้องสมุดมีให้บริการ = Assessment of library resources to identify their relevancy with instructional biology courses of master of science program, Faculty of Science, Khon Kaen University. อินฟอร์เมชั่น., 26(1), 91-101

สุรีวรรณ จันทร์สว่าง. (2555). การประเมินความสัมพันธ์ระหว่างหนังสือในห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ กับหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Agee, J. (2005). Collection evaluation: a foundation for collection development. Collection Building, 24(3), 92–95. https://doi-org.ejournal.mahidol.ac.th/10.1108/01604950510608267

Chi, P., & Glänzel, W. (2022). An article-based cross-disciplinary study of reference literature for indicator improvement. Scientometric: An International Journal for All Quantitative Aspects of the Science of Science, Communication in Science and Science Policy, 127(12), 7077–7089. https://doi.org/10.1007/s11192-021-04262-w.

Choueiry, G. (2021). How old should your article references be? based on 3,823,919 examples. Quantifying Health. https://quantifyinghealth.com/how-old-should-research-references-be/

Glanzel, W., & Schoepflin, U. (1999). A bibliometric study of reference literature in the sciences and social sciences. Information Processing & Management, 31–44.

Horsley, M., Knight, B., & Huntly, H. (2011). The role of textbooks and other teaching and learning resources in higher education in Australia: Change and continuity in supporting learning. IARTEM E-Journal, 3(2), 43-61. https://doi.org/10.21344/IARTEM.V3I2.787.

Knight, B. A., & Horsley, M. (2013). The ecology of change and continuity in the use of textbooks in higher education. Text, 17(Special 23). https://doi.org/10.52086/001c.28291

Knight, B. A. (2015). Teachers’ use of textbooks in the digital age. Cogent Education, 2(1), 1015812. https://doi.org/10.1080/2331186X.2015.1015812

Li, F., & Wang, L. (2024). A study on textbook use and its effects on students’ academic performance. Disciplinary and Interdisciplinary Science Education Research, 6(1), 4. https://doi.org/10.1186/s43031-023-00094-1

Son, J.-W., & Diletti, J. (2017). What can we learn from textbook analysis? In J.-W. Son, T. Watanabe, & J.-J. Lo (Eds.), What Matters? Research Trends in International Comparative Studies in Mathematics Education (pp. 3–32). Springer International Publishing. https://doi.org/10.1007/978-3-319-51187-0_1

Wakefield, J. F. (2007). Textbook usage in the United States: The case of U.S. history. Online submission. https://eric.ed.gov/?id=ED491579