การพัฒนาระบบจัดส่งเอกสารรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการเอกสารฉบับเต็ม สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Main Article Content

นวรัตน์ โพธิ์เขียว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาระบบจัดส่งเอกสารรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการเอกสารฉบับเต็ม โดยผู้วิจัยใช้วิธีสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการถึงปัญหาในการใช้บริการเอกสารฉบับเต็มในรูปแบบเดิมและขอบเขตความต้องการในการพัฒนาระบบ และนำมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาระบบ โดยใช้ทฤษฎีวงจรการพัฒนาระบบ 7 ขั้นตอน (System Development Life Cycle: SDLC) ได้แก่ (1) การกำหนดความต้องการ (2) การวิเคราะห์ระบบ (3) การออกแบบระบบ (4) การพัฒนาระบบ (5) การทดสอบระบบ (6) การติดตั้งระบบ (7) การบำรุงรักษาระบบ ระบบถูกพัฒนาโดยใช้ Yii 2 Framework เป็นเว็บแอปพลิเคชันเผยและแพร่บนเว็บไซต์ภายใต้เซิร์ฟเวอร์ของสำนักหอสมุดกลาง มจพ. ขั้นตอนการให้บริการเอกสารฉบับเต็มด้วยระบบที่พัฒนาขึ้น มีขั้นตอนการทำงานดังนี้ (1) ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการเข้าใช้งานระบบด้วยบัญชีกลางของมหาวิทยาลัย (2) ผู้ใช้บริการกรอกรายละเอียดรายการที่ต้องการและส่งคำขอ (3) ผู้ให้บริการปรับสถานะและตรวจสอบรายการที่ผู้ใช้บริการส่งคำขอ (4) ผู้ให้บริการอัพโหลดไฟล์เอกสารและประสถานะเป็นดำเนินการสำเร็จ (5) ผู้ใช้บริการดาวน์โหลดเอกสารที่ต้องการ ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลความพึงใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อบริการเอกสารฉบับเต็มผ่านการให้บริการด้วยระบบ โดยแจกแบบสอบถามไปยังผู้ใช้บริการ จำนวน 50 คน ผลการวิจัย พบว่า ระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ฯ สามารถใช้งานได้จริงโดยมีฟังก์ชันการทำงานแตกต่างตามขอบเขตการกำหนดบทบาท 3 บทบาท ได้แก่ ผู้ดูแลระบบ ผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการทั่วไป และเนื่องจากผู้วิจัยได้เปิดทดลองการใช้งานระบบเพื่อปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่องของระบบก่อนการใช้งานแบบเต็มรูปแบบ จึงทำให้สามารถปรับแก้ไขเพื่อให้ใช้งานได้ตรงความต้องการ และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (equation = 4.71, S.D. = 0.59)

Article Details

How to Cite
โพธิ์เขียว น. . (2024). การพัฒนาระบบจัดส่งเอกสารรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการเอกสารฉบับเต็ม สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. PULINET Journal, 11(2), 235–249. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/PJ/article/view/599
บท
บทความวิจัย

References

ฉัฐสรัช หอวรางกูร. (2563). การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการให้บริการด้านเอกสารระหว่างระบบดั้งเดิมกับระบบ อิเล็กทรอนิกส์. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/7308/

ชิตพล สีหะวงษ์. (2561). การพัฒนาระบบส่งและตรวจคำตอบออนไลน์ในการแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์. วารสารวิชาการ “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ”, 2(1), 67–72.

มะลิวัลย์ สินน้อย. (2561). การศึกษาความต้องการใช้บริการห้องสมุดสำนักวิทยบริการของนักศึกษา มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี. PULINET Journal, 5(1), 93-102.

รุ่งนภา แสงระวี, ปัทมา ปานมีทรัพย์, และ ปิยะวัฒน์ ชวนวารี. (2563). พัฒนางานบริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดล(Mahidol Book Delivery) “แจ้งเตือน LINE Notify เตือนง่าย.. ได้ใจ”. Retrieved from: ttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/60706.

สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (2566). รายงานการตรวจประเมินตามเกณฑคุณภาพการศึกษาเพื่อการดําเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx): สำนักหอสมุดกลาง มจพ. ประจําปี 2565.

เสาวภา เพ็ชรรัตน์. (2560). บทบาทของห้องสมุดกับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning. วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ, 6, 1-18.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2558). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. ซีเอ็ดยูเคชัน.

Hasniza Amno, Nurulhuda Abdul Jais, Mustaqeem Abdullah, & Bakiah Shaharuddin. (2022). A lean case study on managing interlibrary loan and document delivery service in an academic library. Asia-Pacific Journal of Information Technology and Multimedia, 11(1).

Keshmiripour, S., Johnston, P., Ahmadi, M. (2022). Impacts of the COVID-19 pandemic on interlibrary loan and document delivery requests. Journal of Library Resource Sharing, 31(1–5), 43–58.