การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรายวิชา ห้องสมุดดิจิทัลและนวัตกรรมการเรียนรู้ของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาห้องสมุดดิจิทัลและนวัตกรรมการเรียนรู้ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนรายวิชาห้องสมุดดิจิทัลและนวัตกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาห้องสมุดดิจิทัลและนวัตกรรมการเรียนรู้ ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ถึงภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 รวม 3 ภาคเรียน เป็นจำนวน 208 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) แผนการเรียนรู้รายวิชาห้องสมุดดิจิทัลและนวัตกรรมการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษา พบว่า
1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาห้องสมุดดิจิทัลและนวัตกรรมการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 21.50 และ 29.23 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) ความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนรายวิชาห้องสมุดดิจิทัลและนวัตกรรมการเรียนรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.34)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤตฏ์ ชมภูวิเศษ และพัชรินทร์ ชมภูวิเศษ. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความพึงพอใจโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง สมุนไพรพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 15(2), 29-42.
เดชดนัย จุ้ยชุม, เกษรา บ่าวแช่มช้อย และศิริกัญญา แก่นทอง. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทักษะการคิดของนักศึกษาในรายวิชาทักษะการคิด (Thinking Skills) รหัสวิชา 11-024-112 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning). วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 47-57.
นวพล แก้วสุวรรณ และคมกริช รุมดอน. (2565). พฤติกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการเรียนการสอนบนเครือข่ายออนไลน์ในยุควิถีการศึกษาใหม่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาในภาคใต้ ประเทศไทย. วารสารห้องสมุด, 66(2), 83-103.
บุญชม ศรีสะอาด. (2558). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). สุวีริยาสาส์น.
พรชนิตว์ ลีนาราช. (2554). บทบาทของห้องสมุดมหาวิทยาลัยวิจัยในการสนับสนุนการวิจัยของมหาวิทยาลัย. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 29(2), 73-86.
พลอยณัชชา เดชะเศรษฐ์ศิริ. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาภาวะผู้นำและการจัดการสมัยใหม่ โดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 22(3), 114-123.
ร่มฉัตร ขุนทอง. (2566). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยแอปพลิเคชัน Google Classroom โดยใช้ T5 Model. Journal of Information and Learning, 34(1), 111-119.
รวีวรรณ ขำพล. (2558). บริการให้การศึกษาแก่ผู้ใช้ของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้. PULINET Journal, 2(3), 109-115.
ศศิพิมล ประพินพงศกร. (2556). การให้การศึกษาแก่ผู้ใช้: กระบวนทัศน์ยุคดิจิทัล. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 31(1), 65-95.
สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ตำราสถิติประยุกต์เพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
East, J. W. (2007). The Future Role of the Academic Liaison Librarian: A Literature Review. https://core.ac.uk/download/pdf/11882761.pdf