การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปา เรื่องพุทธประวัติน่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคลองบางกระทึก จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ณัฐพร อินทร์เอ้ย สาขาวิชาการสอนสังคม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระมหาสามารถ ฐานิสฺสโร สาขาวิชาการสอนสังคม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

วิชาพระพุทธ, โมเดลซิปปา, แผนการจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปา เรื่องพุทธประวัติน่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคลองบางกระทึก จังหวัดนครปฐม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปา เรื่องพุทธประวัติน่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคลองบางกระทึก จังหวัดนครปฐมกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนคลองบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จำนวน 1 ห้องเรียนจำนวนนักเรียน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เรื่องพุทธประวัติน่ารู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบซิปปา (CIPPA Model) จำนวน 1 แผนการเรียนรู้ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกตการณ์จัดการเรียนการสอน แบบบันทึก การใช้แผน การเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบฝึกหัด 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน ได้แก่ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

            ผลจาการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 ตามเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 80/80  พบว่า คะแนนกิจกรรมระหว่างเรียน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 75.30 แสดงว่าประสิทธิภาพของกระบวนการสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และคะแนนแบบทดสอบหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 94.74 แสดงว่าประสิทธิภาพของกระบวนการสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ แสดงให้เห็นว่าแบบฝึกทักษะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นนั้นมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการดำเนินการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างขึ้นอย่างมีระบบแบบแผน และผลการเปรียบเทียบของการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 75.30 คะแนน และค่า S.D เท่ากับ 2.33 หลังจากได้รับการทดสอบวัดผมสัมฤทธิ์หลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 94.74 คะแนน และค่า S.D เท่ากับ 1.59 และเมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนทดสอบก่อนเรียนมีค่า t ที่ระดับ 9.98 ปรากฏว่าคะแนนทดสอบหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการพัฒนาการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานวิชาการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ชยาภรณ์ เค้านา. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้โมเดลซิปปาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาสุขศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ทิศนา แขมมณี. (2563). หมวดหมู่: การศึกษาจัดพิมพ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวรีิยาสาส์น.

ไพศาล วรคำ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

ลัดดา ศิลาน้อย. (2558). การวิจัยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชา ส 21103 สังคมศึกษา 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 38(4). 141-148.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2545). เทคนิคและกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544. กรุงเทพ: พริกหวานกราฟฟิค.

Cover01

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-08-2024