การบริหารจัดการบัญชีทางการเงินของวัดโดยหลักธรรมาภิบาล
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, การบัญชีทางการเงินของวัด, หลักธรรมาภิบาลบทคัดย่อ
บทความทางวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวการบริหารจัดการบัญชีทางการเงินของวัดโดยหลักธรรมาภิบาล ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีเพื่อการจัดการ ศึกษาหลักการบริหารบัญชีทางการเงินของวัด และศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการบัญชีทางการเงินของวัดโดยหลักธรรมาภิบาล วัดเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร และมีกิจกรรมจัดหาทุนผ่านการบริจาค จึงมีความจำเป็นที่จะต้องยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และตรวจสอบได้ ด้วยความสำคัญการบริหารจัดการบัญชีทางการเงินของวัดโดยหลักธรรมาภิบาล นั้นเป็นสิ่งสำคัญ ผู้บริหารการเงินของวัดนั้นจะต้องให้ความสำคัญอย่างมาก วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลมีสิทธิและหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แม้จะเป็นองค์กรทางศาสนา แต่วัดมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่มิใช่ระบบตลาด หรือตามระบบบัญชีประชาชาติ ค.ศ. 1993 เรียกว่า สถาบันไม่แสวงหากำไรให้บริการครัวเรือน หมายถึง องค์กรที่ดำเนินงานโดยไม่หวังผลกำไร โดยผลิตสินค้าและบริการให้กับประชาชนหรือสังคมโดยไม่คิดราคาหรือแบบให้เปล่า หรือจำหน่ายในราคาที่ไม่คุ้มทุนหรือในราคาที่ไม่มีนัยสำคัญทางเศรษฐกิจ ในที่นี้ครอบคลุมองค์กรประเภทมูลนิธิ สมาคม องค์กรทางศาสนา และพรรคการเมือง เป็นต้น
Downloads
References
ขวัญสุราง ขำแจง. (2543). การจัดทำบัญชีของวัดในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาการบัญชี. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณดา จันทร์สม. (2555). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัย. “การบริหารการเงินของวัดในประเทศไทย”. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวัฒน์. (2552). พุทธทาสในบริบทของสังคมไทย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.buddhadasa.org [20 ตุลาคม 2557].
บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และบุญมี ลี้. (2546). รายงานการวิจัยตัวชี้วัดธรรมาภิบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
เบญญาภา โสอุบล. (2557). การบัญชีเพื่อการจัดการ. อุดรธานี: ศักดิ์ศรีอักษรการพิมพ์.
ปกรณ์ ตันสกุล. (2552). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ.
ประมวล รุจนเสรี. (2542). การบริหารการจัดการที่ดี (Good Governance). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน.
ไพบูลย์ ผจงวงศ์. (2547). หลักการบัญชีขั้นต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ไพบูลย์ ผจงวงศ์. (2554). การบัญชีเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
ศรีสุดา ธีระกาญจน์. (2549). การบัญชีเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: ทีพีเอ็น เพรส.
ศรีสุดา ธีรยา. (2555). ประโยชน์และวัตถุประสงค์ของการบัญชี. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/ [23 กันยายน 2562].
ศศิวิมล มีอำพล. (2552). การบัญชีเพื่อการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพฯ: อินโฟไมนิ่ง.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2549). หลักการบัญชีบริหาร. กรุงเทพฯ: แมคกรอฮิลอินเตอร์เนชั่นแนล เอ็นเตอร์ไพร์ส อิงค์.
สมาคมนักบัญชี และผู้สอบบัญชี รับอนุญาตแห่งประเทศไทย. (2538). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์.
สุดจิต นิมิตกุล. (2543). กระทรวงมหาดไทยกับการบริหารจัดการที่ดีการปกครองที่ดี (Good Governance). กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
สุธาทิพย์ พาโพธิ์. (2547). การบัญชีการเงิน. กรุงเทพฯ: เอมพันธ์.
สุพาดา สิริกุตตา. (2548). การบัญชีบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.
อมรา พงศาพิชญ์ และนิตยา ภัทรลีรตะพันธุ. (2541). องค์การให้ทุนเพื่อประชาสังคมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
King, Thomas E., Lembke, Valdean C., &Smith, John H. J.J. (2001). Financial accounting. 2nd ed. New York: John Willey & Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศรีสุวรรณภูมิปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.