วิเคราะห์คุณูปการของนางวิสาขาที่มีต่อพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
คูณูปการ, นางวิสาขา, พระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
นางวิสาขาเป็นบุคคลหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อพระพุทธศาสนา ซึ่งได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเรื่องการเป็นผู้ที่อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนามาตั้งแต่เยาว์วัย และการช่วยเหลือเกื้อกูลแก่สังคม บทบาทที่สำคัญในทางพระพุทธศาสนานั้น เช่น การทูลขอพร 8 ประการ ให้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตปัจจัยเครื่องบริโภคใช้สอยอย่างที่ยังไม่เคยอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์มาก่อนหลายอย่าง นางเป็นผู้ที่ทำให้พระพุทธเจ้าอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์ใช้ผ้าเช็ดปาก หม้อน้ำ ไม้กวาด พัดโบก พัดใบตาล รวมถึงการสร้าง ศาสนวัตถุ นอกจากนี้ยังมีส่วนให้พระพุทธเจ้าบัญญัติข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุและภิกษุณี
หนึ่งในพร 8 ประการของนาง คือ การถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุสงฆ์ จนกลายเป็นประเพณีการทำบุญที่ชาวพุทธทุกท่านได้ถือปฏิบัติสืบสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน แม้นางจะได้ทำทานรักษาศีลและเจริญภาวนาแล้ว ยังไม่เพิกเฉยต่อความประพฤติที่ไม่เหมาะสมของภิกษุเข้าไปบอกกล่าวด้วยเมตตาจิต เพื่อให้ท่านเหล่านั้นประพฤติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของท่านเองและความมั่นคงของพระพุทธศาสนา ยิ่งกว่านั้นในฐานะที่นางเป็นพุทธศาสนิกชนที่อาศัยอยู่ในท่ามกลางบุคคลผู้นับถือลัทธิอื่น นางยังคงมีศรัทธามั่นคงต่อพระรัตนตรัยแล้ว นอกจากนี้นางยังชักชวนให้บุคคลมากมายให้หันมานับถือพระพุทธศาสนา เพราะความดีที่นางได้ประพฤติปฏิบัติอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ส่งผลทำให้นางได้รับความศรัทธาและยอมรับของบุคคลเหล่านั้น
Downloads
References
คูณ โทขันธ์. (2537). พุทธศาสนากับชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์.
บรรจบ บรรณลุจิ. (2539). ภิกษุณี: พุทธสาวิกาครั้งพุทธกาล. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมโกศาจารย์. (2529). แม่พระสามเมือง. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป.สัมพันธ์พาณิชย์.
พงศ์พันธ์ จันทรวราทิตย์. (2522). บทบาทของเศรษฐีที่ปรากฏในพระไตรปิฎก. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาภาษาตะวันออก, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2538.). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศรีสุวรรณภูมิปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.