ศึกษาหลักคำสอนที่ปรากฏในบุญข้าวประดับดินของชาวอีสาน
คำสำคัญ:
หลักคำสอน, บุญข้าวประดับดิน, ชาวอีสานบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในบุญข้าวประดับดินของชาวอีสานพบว่ามีหลักธรรมปรากฏในพิธีกรรมอยู่หลายประการได้แก่คำสอนเรื่องความกตัญญูเรื่องความสามัคคีหลักสังคหวัตถุ 4 เป็นต้นหลักธรรมเหล่านี้เป็นหลักธรรมที่ปรากฏในการทำบุญข้าวประดับดินของชาวอีสานอันเป็นสาระสำคัญของงานบุญและเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาหลายปี ตามความเชื่อของการทำบุญอุทิศให้กับเปรตญาติที่ล่วงลับไปแล้วซึ่งการทำในลักษณะนี้ แสดงให้เห็นถึงความกตัญญูกตเวที ความเมตตากรุณาความเคารพรักที่ตนมีต่อท่านผู้จากไปแต่อีกส่วนหนึ่งยังมีความเชื่อว่าเป็นการทำตามประเพณีที่ทำตามสืบๆ กันมา ยังเข้าใจว่าทำไปเพื่ออุทิศให้เปรต ทำไปเพื่ออุทิศให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปเท่านั้นหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณีบุญข้าวประดับดินได้ส่งผลต่อสังคมหลายด้าน คือ ด้านความเชื่อ ด้านจิตใจ ในด้านของจิตใจนั้นเมื่อชาวบ้านทำบุญแล้วย่อมมีความสุขใจเกิดขึ้นเพราะการทำบุญนั้นจะต้องถึงพร้อม คือ ตั้งแต่ขณะคิดขณะทำและหลังจากทำ ซึ่งใจต้องผ่องใสอิ่มอกอิ่มใจสดชื่น และรักษาความแนบแน่นของชาวอีสานเอาไว้ ทำให้ประชาชนมีความรวมมือและสร้างความสุขทั้งในชุมชนและหมู่บ้านมีการรวมญาติมิตร เพื่อนพ้องทุกคนที่เกี่ยวข้องทุกคนร่วมมือร่วมใจกันทำบุญข้าวประดับดิน
Downloads
References
ขันเตียน นามเกตุ. (2556). การศึกษาคติความเชื่อประเพณีบุญเดือนเก้า (ข้าวประดับดิน). วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปรีชา พิณทอง. (2534). ประเพณีโบราณไทยอีสาน. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์ศิริธรรม.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). ก้าวไปกับบุญ ธรรมะฉบับเรียนลัด. นครปฐม: วัดญาณเวศกวัน.
พระมหาสุพจน์ คำน้อย. (2547) การศึกษาวิเคราะห์คำสอนเรื่องการอุทิศส่วนบุญในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระอริยานุวัตร เขมจารี. (2530). คติความเชื่อของชาวอีสานในวัฒนธรรมพื้นบ้านคติความเชื่อ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พวงพิกุล มัชฌิมา. (2537). บุญข้าวประดับดินและบุญข้าวสากบ้านกุดรัง ตำบลกุดรัง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มณี พยอมยงค์. (2529). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย เล่ม 1-2. เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สาลี รักสุทธิ. (2544). ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา.
สุเมธ เมธาวิทยกุล. (2532). สังกัปพิธีกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ โอเดี้ยนสโตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศรีสุวรรณภูมิปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.