แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้านการถ่ายภาพดิจิทัลสำหรับนักศึกษากลุ่มเจนเนอเรชั่น ซี ในจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21, การถ่ายภาพดิจิทัล, เจนเนอเรชั่น ซีบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานภาพและปัญหาในการจัดการเรียนการสอนด้านการถ่ายภาพดิจิทัล 2) เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้านการถ่ายภาพดิจิทัล สำหรับนักศึกษากลุ่มเจนเนอเรชั่น ซี การเก็บข้อมูลประกอบด้วยการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องการสัมภาษณ์เชิงลึกอาจารย์ผู้สอนรายวิชาด้านการถ่ายภาพ 3 คน และการสนทนากลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 1/2565 จำนวน 30 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและนำเสนอการวิจัยในรูปแบบการพรรณนาวิเคราะห์
ผลวิจัยสรุปได้ดังนี้
1) พฤติกรรมการถ่ายภาพด้วยโทรศัพท์อัจฉริยะส่งผลให้ผู้เรียนขาดทักษะการจัดองค์ประกอบภาพถ่าย รวมถึงไม่เข้าใจถึงวิธีในการปรับตั้งค่าอุปกรณ์ถ่ายภาพระดับมืออาชีพ รวมถึงพฤติกรรมในการเรียนรู้การถ่ายภาพ และการรับชมผลงานภาพถ่ายจากสื่อสังคมออนไลน์นั้น ส่งผลให้ผู้เรียนไม่สามารถทำการถ่ายภาพได้อย่างถูกต้อง
2) การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ควรเริ่มต้นจากการฝึกถ่ายภาพด้วยกล้องถ่ายภาพดิจิทัล การปรับตั้งค่าต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นฐาน หลังจากนั้นทำการสอนหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์สำหรับภาพถ่าย ผ่านจากการมอบหมายงานตามโจทย์ซึ่งผู้สอนได้กำหนดไว้
3) ความรู้อื่นๆ ซึ่งมีความจำเป็นต่อการถ่ายภาพดิจิทัลนั้นประกอบไปด้วยมารยาท ข้อควรระวังในการถ่ายภาพ การเผยแพร่ผลงานออกสู่สาธารณะ การรู้เท่าทันสื่อ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
การถ่ายภาพดิจิทัลถือเป็นทักษะพื้นฐานสำคัญสำหรับการผลิตสื่อประเภทต่างๆ ดังนั้น การสอน ฝึกผู้เรียนให้ได้เข้าใจถึงแก่นแท้ของการถ่ายภาพเพื่อการสื่อสาร ถือเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับผู้สอนในการพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะเหล่านี้ ตามลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตด้านการสื่อสารมวลชน
Downloads
References
กชกร บุญยพิทักษ์สกุล. (2562). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างรู้เท่าทันของนักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, ปีที่ 25 ฉบับที่ 2, 39-59.
กนกรัตน์ ยศไกร. (2551). การถ่ายภาพเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
กฤษณ์ ทองเลิศ. (2554). การถ่ายภาพเชิงวารสารศาสตร์ แนวคิด เทคนิค การวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อินทนิล.
กิตติธัช ศรีฟ้า. (2565). การถ่ายภาพเชิงวิจิตรศิลป์ใต้น้ำ. ศิลปกรรมสาร. ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 หน้า 34 - 54
ธีร์ คันโททอง และคณะ. (2566). การประเมินหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง) พ.ศ. 2561 คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ตามแนวคิดซิปป์ โมเดล. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์), ปีที่ 1 ฉบับที่ 1.
นภาพรรณ ไพรพะยอม. (2564). การจัดการเรียนการสอนชีววิทยาในศตวรรษที่ 21. วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู, ปีที่ 1 ฉบับที่ 1, 75-95.
ยุพดี หวลอารมณ์และคณะ. (2021). การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนผ่านแอปพลิเคชันสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสร้างเเรงจูงใจในการเรียนรู้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, ปีที่ 10 ฉบับที่ 1, 37-52
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ Open Worlds.
วริศนันท์ เดชปานประสงค์ และคณะ. (2565). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติของผู้เรียน, วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, ปีที่ 8 ฉบับที่ 2, 428-440.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วีระพล วงษ์ประเสริฐ และคณะ. (2563). ทวิตเตอร์ (Twitter) กับทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ของเยาวชนไทยที่สยามสแควร์. วารสารรัชต์ภาคย์, ปีที่ 14 ฉบับที่ 32, 141 - 154
สุวิทย์ มูลคำและคณะ. (2554). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการคิด. กรุงเทพฯ: อี เค บุ๊คส์.
อำนวยพร บุญจำรัส. (2561). ศิลปะแห่งการถ่ายภาพ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เอกนฤน บางท่าไม้. (2561). การถ่ายภาพดิจิทัล. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศรีสุวรรณภูมิปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.