บทบาทของนางปชาบดีโคตมีต่อพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
บทบาท, นางปชาบดีโคตมี, ครุธรรม 8, พระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่อง “บทบาทของนางปชาบดีโคตรมีต่อพระพุทธศาสนา” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1)เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและความเกี่ยวข้องของนางปชาบดีโคตรมีต่อพระพุทธศาสนา (2)เพื่อศึกษาความมุ่งหมายของพุทธบัญญัติครุธรรม 8 ประการ (3) เพื่อศึกษาบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของนางปชาบดีโคตมีต่อพระพุทธศาสนา
การเผยแผ่พระพุทธศาสนานั้นเป็นการนําเอาหลักธรรมคําสอน อันประเสริฐ เป็นธรรมชาติ และบริสุทธิ์ ที่เกิดจากพระปัญญาธิคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้แล้วได้นำมาถ่ายทอดให้กับพระสาวกและประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธาได้เรียนรู้และน้อมนําเอาหลักธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธองค์นั้นไปประพฤติปฏิบัติตามเพื่อให้เป็นคนดีมีศีลธรรมประกอบด้วยคุณธรรมมีเมตตา โดยอาศัยหลักประโยชน์ 3 คือ หลักไตรสิกขา 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งพระสาวกและพระสาวิกานั้นได้นําหลักการที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ มาเผยแผ่สู่พุทธบริษัททั้งหลาย แต่อาจมีการเปลี่ยนวิธีการสอนบางอย่างให้เหมาะสมกับตัวบุคคล ภูมิประเทศ สภาพสังคมและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ อีกทั้งบทบาทในการประกาศพระศาสนาก็ดี บทบาทของสตรีในฐานะที่เป็นพุทธมามกะก็ดีนับได้ว่ามีความสําคัญอย่างมากในการเผยแผ่พระศาสนา
พระนางปชาบดีโคตมีเป็นเหมือนผู้ให้กําเนิดภิกษุณีสงฆ์ ซึ่งเกิดจากการที่พระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี ได้รับการอุปสมบทเป็นภิกษุณีจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระนางเป็นต้นกําเนิดของภิกษุณีสงฆ์ที่เกิดขึ้นเป็นรูปแรกในโลก และพระนางยังได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กับเหล่าสตรีทั้งหลายให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยการแสดงหลักธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้าให้เหล่าสตรีที่มาเข้าเฝ้าได้รู้แจ้งเห็นจริง การมีปฏิปทาอันน่าเลื่อมใสของพระเถรี การแสดงอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ ของภิกษุณี ซึ่งทําให้ ประชาชนทั้งหลายเลื่อมใสศรัทธาและออกบวชในพระพุทธศาสนาอย่างมากในสมัยพุทธกาล
Downloads
References
บรรจบ บรรณรุจิ. (2539). ภิกษุณี: พุทธสาวิกาครั้งพุทธกาล. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระไตรปิฎกออนไลน์. พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี. ภิกษุณี เอตทัคคะ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://84000.org/ [16 กรกฎาคม 2560].
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2545). ปัญหาภิกษุณี บททดสอบสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2540). ธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค 1. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย.(2540). ธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค 3. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
David S. Noss and John B Noss. (1994). A History of the World's Religions. 9th.ed. New york: Macmillan College Publisng Company.
Wikiwand. มหาปชาบดีโคตรมีเถรี. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.wikiwand.com/th/พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี [16 กรกฎาคม 2560].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศรีสุวรรณภูมิปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.