การดูแลสุขภาพองค์รวมตามหลักการทางพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • พระสุรศักดิ์ ฐิตเมโธ วิทยาลัยสงฆ์สุพรรณบุรีศรีสุวรรรภูมิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • มณฑกานต์ แป้นกลม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การดูแล, สุขภาพองค์รวม, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพกายและใจอย่างสมดุล หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาจึงสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพองค์รวมได้ การดูแลสุขภาพองค์รวมตามหลักการทางพระพุทธศาสนานั้น มุ่งเน้นที่การส่งเสริมความสมดุลและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ของสุขภาพ เพื่อให้เกิดสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งกาย ใจ สังคม และจิตปัญญา ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า กายดี ใจดี สังคมดี จิตปัญญาดี นี้เรียกว่า สุข การปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเมตตา กรุณา เสียสละ และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นในสังคม การศึกษาธรรมะ จะช่วยให้เข้าใจหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและการดูแลสุขภาพองค์รวมได้อย่างเหมาะสม โดยเริ่มต้นจากการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม ควบคู่กับการฝึกฝนธรรมะ พระธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดสุขภาพทางกายที่นำเสนอในที่นี้ มิใช่จะใช้แก้ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บทางกายได้โดยตรง แต่เป็นการเสริมด้านจิตใจ เมื่อสุขภาพจิตดีจะส่งให้สุขภาพกายดีขึ้นด้วย ส่วนหลักพระธรรมนั้นก่อให้เกิดสุขภาพทางจิต ทางสังคม และทางปัญญานั้น จะใช้ได้โดยตรงมากกว่า ดังนั้น จำเป็น ต้องอาศัยบริการทางการแพทย์ประกอบควบคู่กันไปด้วย

Downloads

Download data is not yet available.

References

เกศินี ลิ่มบุญสืบสาย. (2545). การศึกษาวิเคราะห์บทบาทของหมอชีวกโกมารภัจที่ปรากฏในคัมภีร์ พระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2543). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร และคณะ. (2545). บริการปฐมภูมิ: บริการสุขภาพใกล้ใจและใกล้บ้าน. เอกสาร วิชาการลำดับที่ 1 ในชุดเอกสารเพื่อการพัฒนาบริการปฐมภูมิ. กรุงเทพฯ: สำนักงานโครงการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข, .

สถิตพงศ์ ธนวิริยกุล. (2550). การพัฒนาระบบสุขภาพเพื่อความสุข: โครงการจัดตั้งภาควิชาเภสัชศาสตร์สังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุทัย สุดสุข. (2552). สาธารณสุขในพระไตรปิฎก: บูรณาการสู่สุขภาพดี ชีวีมีสุข. กรุงเทพฯ: เทพประทานการพิมพ์.

03

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2023