[RETRACTED ARTICLE] แนวทางการจัดการศึกษาเชิงระบบสำหรับนิสิตนักศึกษาจีนในสถาบันอุดมศึกษาไทย

ผู้แต่ง

  • พระธีรวัฒน์ อั้นเต้ง คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แนวทาง, การจัดการศึกษาเชิงระบบ, นิสิตนักศึกษาจีน

บทคัดย่อ

นิสิตนักศึกษาจีนที่เข้ามาศึกษาในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันจำนวนนิสิตนักศึกษาจีนในประเทศไทยเป็นสัดส่วนเกือบร้อยละ 50 ของจำนวนนิสิตนักศึกษาต่างชาติในประเทศไทย แต่จากการสำรวจข้อมูลพบว่า การจัดการศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษาจีนยังมีปัญหา การรับเข้านิสิตนักศึกษาเน้นปริมาณไม่เน้นคุณภาพ นิสิตนักศึกษามีอุปสรรคการเรียนในด้านภาษา และหลักสูตรสำหรับนิสิตนักศึกษาจีนมีคุณภาพต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของอุดมศึกษาไทยในอนาคต เพื่อให้การเข้ามาของนิสิตนักศึกษาจีนเป็นโอกาสในการพัฒนาอุดมศึกษาไทย บทความนี้จึงได้นำเสนอแนวทางการจัดการศึกษาเชิงระบบสำหรับนิสิตนักศึกษาจีน ดังนี้ 1) การรับเข้าของนิสิตนักศึกษาจีนมีความเคร่งครัดด้านทักษะภาษาและความรู้พื้นฐานในสาขาวิชาที่สมัคร 2) หลักสูตรควรมีวัตถุประสงค์ชัดเจน มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพและหาจุดแข็งของตนเอง และพัฒนาเป็นที่ยอมรับในระดับสากล 3) ผู้บริหารต้องมีคุณวุฒิและวัยวุฒิที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำองค์กร ผู้สอนต้องมีคุณลักษณะที่เหมาะสมและมีผลงานตีพิมพ์ 4)สถาบันอุดมศึกษาควรมีการจัดการเรียนการสอนแบบใกล้ชิด มีความยืดหยุ่นเรื่องภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอน มีการจัดการอบรมเสริมทักษะภาษาและทักษะชีวิต 5) การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ได้แก่ ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะบุคคลตามที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา (สกอ.) กำหนดและต้องส่งเสริมทักษะการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมและทักษะการปรับตัว 6) การประเมินผลของการจัดการศึกษาต้องมีการประเมินผลจากภายในและภายนอก

Downloads

Download data is not yet available.

References

กุลนรี นุกิจรังสรรค์ และคณะ. (2563). การศึกษาเบื้องต้นว่าด้วยนักศึกษาจีนในไทย: ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนงานคนไทย 4.0. กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

กรุงเทพธุรกิจ. (2565). จริงหรือ? “นักศึกษาจีน” ทางรอด-โอกาสของมหาวิทยาลัยไทย. กรุงเทพธุรกิจ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/health/education/1032606. [20 สิงหาคม 2566].

คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา. (2565). รายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา

จรัญญา เทพพรบัญชากิจ. (2556). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรนานาชาติของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ. 23(2), 25-46.

เพ็ญพิชชา มุ่งงาม. (2566, 3 กุมพาพันธ์). อุดมศึกษาไทยในวันที่มหาวิทยาลัยอยู่ในเงาทุนจีน. The 101. World. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.the101.world/thaihigher-education-and-china-investment/ [20 สิงหาคม 2566].

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2554). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

Soup Ayon, S. (2005). Principles of Educational Administration: Theory and Practice. 2nd ed. Book Point.

Li, y., & Waraporn T. (2021). The growth of Chinese students and the diversity of educational programs offered by educational institution of higher education in Thailand. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 7(6), 331-346.

Cover01

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2023