แนวทางการปรับปรุงและพัฒนาสู่การเพิ่มประสิทธิภาพงานในส่วนวิศวกรรม ด้วยหลัก ECRS ของบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
หลักการ ECRS, การเพิ่มประสิทธิภาพงาน, ส่วนวิศวกรรมบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการทำงานของส่วนวิศวกรรม 2) วิเคราะห์สาเหตุปัญหาในกระบวนการทำงานของส่วนวิศวกรรม และ 3) สังเคราะห์แนวทางในการป้องกันสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาในกระบวนการทำงานของส่วนวิศวกรรม เพื่อได้แนวทางการปรับปรุงและพัฒนา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานในส่วนวิศวกรรม ด้วยหลักการ ECRS เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับภาคส่วนวิศวกรรม จำนวน 10 ราย เพื่อวิเคราะห์สาเหตุการเกิดปัญหา ด้วยเทคนิคการตั้งคำถาม Why Why Analysis และประชุมกลุ่มย่อยผู้เกี่ยวข้องระดับหัวหน้าส่วนวิศวกรรม จำนวน 10 ราย ด้วยคำถาม 5W1H เพื่อหาแนวทางการแก้ไข และหลัก ECRS ในการปรับปรุงและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานในส่วนวิศวกรรม (PDCA)
ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัญหาการทำงานของส่วนวิศวกรรม ได้แก่ เรื่อง Drawing ผิดพลาด, เรื่องแบบ Drawing ล่าช้าและการสั่งซื้อวัสดุล่าช้า 2) สาเหตุปัญหาเกิดจาก Man ขาดทักษะ Method กระบวนการการสื่อสาร และการวางแผนงาน Machine เทคโนโลยีของเครื่องมือ/ความผิดพลาดของโปรแกรม Environment ขาดสมาธิในการทำงาน/พนักงานลาป่วยยาว และ 3) แนวทางในการป้องกันสาเหตุ ได้แก่ Man แนวทางการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะของพนักงานส่วนวิศวกรรม Method แนวทางการปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อลดปัญหาความล่าช้าของส่วนวิศวกรรม Machine แนวทางการพัฒนาการจัดทำแบบ Drawing ด้วยเทคโนโลยีโปรแกรมเขียนแบบสำเร็จรูปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านคุณภาพและเวลาของงานส่วนวิศวกรรม และ Environment แนวทางการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานซึ่งข้อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของส่วนงานวิศวกรรม ส่งผลให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานตามตัวชี้วัดภายใต้กรอบระยะเวลาการประเมิน
References
จุฑาทิพย์ อินทะโน. (2565). การลดความสูญเปล่าในกระบวนการปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด
ด้วยเทคนิคลีน (ค้นคว้าแบบอิสระปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์และการจัดการห่วงโซ่อุปทาน). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
นันทพันธ์ กนกศิริรุจิษยา. (2564). การลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตชิ้นส่วน HDD โดยเทคนิค ECRS. Journal of Science and Technology Thonburi University, 5(1), 77-91.
เบญญาภา สายรัมย์ และคณะ. (2566). การกำจัดของเสียจากกระบวนการผลิตผ่าน ECRS method: กรณีศึกษาร้านอาหาร XYZ. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ RMUTT Global Business and Economics Conference 2023 (RTBEC 2023) ปีที่ 10 (น.310). ปทุมธานี: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัย
เชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 29(2), 32-48.
เพ็ญนภา แจ้งอรุณ. (2563). การใช้เทคนิคในการปรับปรุงประสิทธิภาพทางการผลิต กรณีศึกษา: บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ (งานนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
มานิตา ยอดวัน. (2563). การประยุกต์ใช้หลักการของลีนเพื่อลดสิ่งสูญเปล่าในการผลิต กรณีศึกษา กระบวนการฉีดพลาสติก. (ค้นคว้าอิสระปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.
รุ่งโรจน์ แก้วอุไร และสุพรรษา น้อยนคร. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ผังก้างปลาร่วมกับ
เฟซบุ๊กเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ปัญหาโครงงานของนิสิต. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(3), 269-285.
วิไลวรรณ อิสรเดช และพระมหาประกาศิต ฐิติปสิทธิกร. (2563). การเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(4), 413-425.
วันรัตน์ จันทกิจ. (2551). 17 เครื่องมือนักคิด (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นสวนจำกัดซีโนไซน์.
สุริยะ เลิศวัฒนะพงษ์ชัย. (2562). แปลงร่างธุรกิจด้วยลีน. กรุงเทพฯ: บีเอ็มจี เบรกธรู เมเนจเม้นท์กรุ๊ป.
อำนาจ อมฤก. (2562). การลดของเสียในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร: กรณีศึกษา บริษัท สุพรีม พรีซิชั่น แมนูเฟคเจอริ่ง จำกัด. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหกรรมการไทย, 5(1), 36-48.
อติกานต์ ม่วงเงิน. (2562). การประยุกต์ใช้เทคนิคแบบลีน (ECRS+IT) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานระบบตู้รับคืนหนังสืออัตโนมัติ สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Tracy, S. J. (2012). Qualitative research methods: Collecting evidence, crafting analysis, communicating impact: West Sussex: John Wiley & Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.