สภาพแวดล้อมการทำงานที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน บริษัท ฮาซเคม โลจิสติกส์ แมเนจเมนท์ จำกัด

ผู้แต่ง

  • อัษฎาวุธ สวัสดิทัศน์ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • รักเกียรติ โรจน์กัญญาพร คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

สภาพแวดล้อมการทำงาน, ประสิทธิภาพการทำงาน, กระบวนการโลจิสติกส์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการทำงานที่แตกต่างกันจำแนกตามคุณสมบัติ
ส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน และศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยสภาพแวดล้อมการทำงาน ที่ส่งผล
ต่อประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมีประชากรเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานระดับพนักงานปฏิบัติการทั่วไปของบริษัท ฮาซเคม โลจิสติกส์ แมเนจเมนท์ จำกัด กลุ่มตัวอย่างจำนวน 207 ตัวอย่าง ด้วยวิธีกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ซึ่งเป็นพนักงานระดับพนักงานปฏิบัติการทั่วไปทั้งหมด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย One–way ANOVA, Least Significant Difference (LSD) และ Multiple Regression Analysis ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 21-30 ปี มีอายุการทำงาน
ในบริษัท 5 ปีขึ้นไป มีระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรี และทำงานในคลังสินค้าโครงการ Frasers
บางนา กม.39 โดยคุณสมบัติส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามอายุที่แตกต่างกัน มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานแตกต่างกัน ผลจากการวัดระดับความคิดเห็นพบว่า ปัจจัยสภาพแวดล้อมการทำงาน ด้านสภาพ
การทำงาน และด้านการสั่งการและระเบียบในองค์กร มีอิทธิพลในด้านบวกต่อประสิทธิภาพในการทำงาน
และปัจจัยสภาพแวดล้อมการทำงาน ได้แก่ ด้านความชัดเจนในการปฏิบัติงาน และด้านโอกาสก้าวหน้า
ในการทำงาน มีอิทธิพลในด้านลบ ต่อประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อนำข้อมูลไปจัดทำแผนงานด้านทรัพยากรบุคคลในการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในบริษัท

References

กรรณิการ์ โพธิ์ลังกา. (2556). การศึกษาลักษณะส่วนบุคล วัฒนธรรมองค์กรลักษณะสร้างสรรค์

และสภาพแวดล้อมภายในองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิผลการ ปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ในย่านธุรกิจอโศก กรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ชลดา อักษรศิริวิทยา. (2559). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายการเดินรถองค์การขนส่ง มวลชนกรุงเทพ. (สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกริก

ณัฐพงศ์ ศาลาพฤกษ์ และชลธิศ ดาราวงษ์. (2562). ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของพนักงานระดับปฏิบัติการในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 16(1), 166-177.

ธนากร ศรีโพธิ์กลาง และ จุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงษ์. (2559). ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมในการทำงานความเหนื่อยหน่ายงานที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงานในบริษัทขนส่งสินค้าและบริการด้านโลจิสติกส์ชั้นนำ. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 54: สาขาศึกษาศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

(270-277). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นัยนา สุภาพ. (2557). ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ บริษัท พี.เอส.อินทรูเม้นท์แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

พนิดา นิลอรุณ และประสพชัย พสุนนท์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร สายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารจันทรเกษม, 21(41), 29-38.

ภาณัฐชดา ต่ายเรียน และวสันต์ สกุลกิจกาญจน์ (2563) สภาพแวดล้อมในการทำงานและแรงจูงใจในการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับ ประสิทธิภาพในการทำงานและความสุขในการทำงานของพนักงาน

ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่5

(ในความร่วมมือ 5 สถาบัน) (147-162).

รักชาติ แดงเทพโพธิ์ และนริศรา แดงเทพโพธิ์. (2561). ผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักวิชาการโสตทัศนศึกษาในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(4), 81-92.

สุกัญญา จันทรมณี. (2559). แรงจูงใจและสภาพแวดล้อม ในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท ฮานา เซมิคอนดักเตอร์ (อยุธยา) จำกัด. (การค้นคว้าอิสระบัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Belch, G. E., & Michael, A. B. (2005). Advertising and promotion: An integrated marketing communications perspective. Boston: McGraw-Hill.

Gilmer, V. H. B. (1973). Applied psychology. New York: McGraw-Hill.

Hayhurst, A. M. (2005). Work environmental factors and retention of nurses. Journal of Nursing Care Quality. 20(1), 283-288.

Kotler, P. (2000). Marketing management. New Jersey: Prentice-Hall.

Moos, R. H. (1994). Work environment scale manual (3rd ed.). Palo Alto, CA: Consulting Psychologists Press..

Petersen, E., Elmore, G., & Plowman, G. E. (1953). Business organization and management. Homewood, IL: Irwin.

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31