นวัตกรรมการศึกษาด้านการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนด้วย รูปแบบ SMILE Model ของโรงเรียนค่ายบางระจันวิทยาคม

ผู้แต่ง

  • เรวัฒน์ พรหมสะโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

งานวิชาการ, ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ, นวัตกรรม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอนวัตกรรมการศึกษาด้านการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนด้วยรูปแบบ SMILE Model ผู้เขียนได้ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา โดยในกระบวนการสร้างและพัฒนารูปแบบนวัตกรรมได้ดำเนินการทดลองใช้นวัตกรรมในโรงเรียนค่ายบางระจันวิทยาคม อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งจากการพัฒนา พบว่า

รูปแบบนวัตกรรม SMILE Model ประกอบไปด้วยกระบวนการ 5 ขั้นตอนหลัก คือ 1) S : Study การศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล 2) M : Management การวางแผนจัดการ 3) I : Implementation การดำเนินการตามขั้นตอน 4) L : Learning Assessment การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน 5) E : Expansion การพัฒนาต่อยอด ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ โดยผู้บริหารสถานศึกษาสามารถปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของสถานศึกษาและความต้องการของผู้เรียน ซึ่งการพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการสอดคล้องกับจุดมุ่งเน้นของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมให้มีคนไทยในยุค 4.0 มีคุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศตามยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 เพื่อสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในศตวรรษที่ 21 และเป็นการพัฒนาผู้เรียนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ที่ต้องการพัฒนากำลังคนทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะความสามารถในงานหรือขีดความสามารถตามตำแหน่งงาน ทักษะในการใช้ชีวิต การแก้ปัญหา การมีแนวคิดของผู้ประกอบการมากขึ้น

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา. (16 พฤษภาคม 2550). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 24 ก หน้า 29 – 36.

จรุณี เก้าเอี้ยน. (2557). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

ดิเรก พรสีมา. (2559). ครูไทย 4.0 กระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้น 6 มิถุนายน 2565, จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID.

มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. (2561). แนวปฏิบัติที่ดีการเรียนการสอนเชิงรุก (Active Learning). ม.ป.ท.

วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562). การจัดการเรียนรู้ Active Learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลยลงกรณ์ ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 135 – 145.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). เอกสารประกอบการฝึกอบรม “คุณภาพผู้เรียนเกิดจากกระบวนการเรียนรู้”. สระแก้ว: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการ เรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ Entrepreneurship Education (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร:สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566—2570). สืบค้น 6 มิถุนายน 2565, จากhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/258/T_0001.PDF

Abdullah Al Mamun, Syed Ali Fazal and Rajennd Muniady. (2019). Entrepreneurial knowledge, skills, competencies and performance. Asia Pacific Journal of Innovation and Entrepreneurship, 13(1), 29-48.

Johnson, D. S., Snowden, D. N., Mukhuty, D. S., Fletcher, B., & Williams, P. T. (2015). Entrepreneurship Skills: literature and policy review. (BIS RESEARCH PAPER NO. 236). N.P.: Hull University Business School.

Lackéus, M. (2015). Entrepreneurship in Education what, why, when, how. OECD.

เผยแพร่แล้ว

2024-04-26