คุณภาพบริการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าบริษัทแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • วรวิชญ์ สดคมขำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • ลัดดาวัลย์ สำราญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • โสรยา สุภาผล คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

คุณภาพบริการโลจิสติกส์, ความพึงพอใจ, การขนส่ง, ผู้ให้บริการโลจิสติกส์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพบริการโลจิสติกส์และความพึงพอใจของลูกค้าบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี 2) ศึกษาคุณภาพบริการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยกลุ่มตัวอย่าง เป็นลูกค้าบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 259 ราย ทำการสุ่มกลุ่มแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ โดยผลการวิจัยพบว่า

ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยคุณภาพบริการโลจิสติกส์ และความพึงพอใจ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า คุณภาพบริการโลจิสติกส์ ได้แก่ ด้านความพร้อมในการให้บริการ ด้านการติดต่อสื่อสาร และด้านความปลอดภัย ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีอำนาจการทำนายประมาณร้อยละ 22.00

References

กัญญ์กณิษฐ์ กมลกิตติวงศ์ และนพปฎล สุวรรณทรัพย์. (2565). ปัจจัยด้านโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการบริษัทขนส่งเอกชนของผู้ประกอบการร้านขายเสื้อผ้าออนไลน์ ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 3(3), 53-63.

กัลยา วานิชย์บัญชา (2553). การใช้ SPSS for Window ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร จำกัด.

กิตติกานต์ พรหมเมตจิต. (2562). ความพึงพอใจในบริการธุรกิจขนส่งสินค้าโดยรถบรรทุกของบริษัท แมกซ์คอร์ ลอจิสติกส์ จำกัด (สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเกริก, กรุงเทพฯ.

กิตตินาท นุ่นทอง และคณะ. (2562). รูปแบบ คุณภาพการบริการโลจิสติกส์ของผู้ให้บริการโลจิสติกส์

ในประเทศไทย. วารสาร BU Academic Review, 18(2), 26-41.

กุลจิรา โพธิ์กัน และนิธิกร เมืองแก่น. (2560). การสำรวจความพึงพอใจของผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ กรณีศึกษา ผู้ใช้บริการด่านเชียงของที่มีต่อเส้นทาง R3A (โครงงานวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต), มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, นนทบุรี.

นฤพล มีกล่ำ และคณะ. (2566). แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจ

ของลูกค้าธุรกิจบริการโลจิสติกส์ของไทย. วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ, 6(2), 79-93.

น้ำลิน เทียมแก้ว. (2561). การศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2560. มหาสารคาม: สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุษราภรณ์ ฉายชูผล. (2551). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการบริการของสำนักงานประกันสังคม

ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพฯ.

พชรวรรณ ภาษีสวัสดิ์ และ สวัสดิ์ วรรณรัตน์. (2566). ผลกระทบของคุณภาพบริการโลจิสติกส์ต่อ

ความพึงพอใจและการบอกต่อของผู้บริโภค : กรณีศึกษาธุรกิจแอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 13(1), 49-59.

พสิษฐ์ ศักดิ์วานิชกุล. (2561). ประสิทธิภาพการให้บริการโลจิสติกส์สำหรับงานแสดงสินค้าประเภทเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีโลหะการ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

วรวลัญช์ กรองทอง และคณะ. (2566). คุณภาพบริการโลจิสติกส์ ความพอใจ และความจงรักภักดี

ของผู้บริโภคในช่องทางออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันสั่งอาหารในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 11(1), 246-262

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper.

เผยแพร่แล้ว

2024-04-26