ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำวิจัยของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ผู้แต่ง

  • ชญาพร คุณประทุม มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การทำวิจัย, บุคลากรสายวิชาการ, มหาวิทยาลัยนเรศวร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำวิจัยและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำวิจัยของบุคลากร สายวิชาการ มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล จากบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ทำวิจัยภายในระยะเวลา 5 ปี นับจากปี พ.ศ.2560 -2564 จำนวน 145 คน โดยสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยใช้ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการศึกษาสามารถพิจารณาเหตุผลที่บุคลากรสายวิชาการของมหาวิทยาลัยนเรศวรทำวิจัย พบว่า

ส่วนใหญ่ทำวิจัยเพราะตระหนักถึงภาระหน้าที่เป็นคะแนนระดับสูงสุด รองลงมาคือต้องการทำผลงานเพื่อขอเลื่อนตำแหน่งวิชาการ และอันดับต่ำสุดคือการสร้างสรรค์งานวิจัย เพื่อประโยชน์ต่องานวิชาการและแก้ปัญหาของสังคมและประเทศชาติ และปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการทำวิจัยของบุคลากรสายวิชาการ ในมหาวิทยาลัยนเรศวร ในระดับมาก จำนวน 5 ด้านคือ ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน, ด้านทักษะเชิงวิจัยของบุคลากร, ด้านลักษณะงานที่ได้รับผิดชอบ, ด้านงบประมาณในการทำวิจัย และด้านทัศนคติต่อการทำวิจัย ขณะที่อีก 5 ปัจจัย คือ ด้านระยะเวลาในการทำวิจัย ด้านการเห็นคุณค่าในตัวเอง ด้านการสนับสนุนจากหน่วยงาน ด้านสิ่งแวดล้อมในการทำวิจัย และด้านวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือและสิ่งอำนวยความสะดวก มีอิทธิพลต่อการทำวิจัยของบุคลากรสายวิชาการในมหาวิทยาลัยนเรศวรในระดับปานกลาง 

จากผลการวิจัยทำให้ทราบว่ามหาวิทยาลัยควรส่งเสริมและผลักดันให้บุคลากรสายวิชาการของมหาวิทยาลัยนเรศวรขอรับทุนวิจัยแหล่งทุนภายนอก โดยจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างนักวิจัยอาวุโสและนักวิจัยรุ่นใหม่ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้การขอรับทุนจากแหล่งทุนภายนอกและแลกเปลี่ยนเทคนิคการเขียนขอรับทุนจากแหล่งทุนภายนอก

References

กัญญาวีร์ สมนึก. (2557) ปัจจัยในการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

กรรวี เวียงเหล็ก. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตมโนทัศน์เกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียนของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จรรยา แก้วใจบุญ. (2541). ปัจจัยที่จูงใจให้อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนนี

เขตภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต.(สาขาวิชาบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ช่อลดา วิชัยพาณิชย์. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีวิจัยและการพัฒนาหลักสูตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ณัฐรัตน์ สมนาม และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2551). การสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพงานวิชาการของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนกลุ่มความร่วมมือในเขตกรุงเทพฯ ตะวันตกและปริมณฑล. รายงานการประชุมวิชาการธนบุรีวิจัย ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กลุ่มพันธมิตรทางการศึกษา.

ฐิติพร ตันติศรียานุรักษ์, รัชฎา ธิโสภา และอรดา เกรียงสินยศ. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อการทำวิจัยของบุคลากร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ: กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

นัสที ทรัพย์บัญญัติ. (2546). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทาวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย รามคำแหง. ปริญญานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การวัดและประเมินผล การศึกษา) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปรารถนา อเนกปัญญากุล และคณะ. (2556). พฤติกรรมการทำวิจัย และปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. รายงานการวิจัย. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร

พัชรา บุญนำ และสมควร ทรัพย์บำรุง (2552). แรงจูงใจ ปัจจัยเกื้อหนุน และปัญหาในการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. รายงานการวิจัย. ปทุมธานี : คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต.

เพราพรรณ เปลี่ยนภู่. (2542). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

วิจารณ์ พานิช. (2553). การบริหารงานวิจัยแนวคิดจากประสบการณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ.2566-2567. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุนิภา ชินวุฒิ. (2538). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมกับบทบาท

การวิจัยของอาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข (วิทยานิพนธ์พยาบาลมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเจตน์ นาคเสวี และคณะ (2550). เจตคติต่อการวิจัยและปัจจัยที่เอื้อต่อการทำวิจัยของบุคลากรวิทยาลัยอิสลามศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

อัจฉรา ถาวร. (2545). แรงจูงใจในการทำวิจัยของอาจารย์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยี

พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

อัจริยา วัชราวิวัฒน์. (2544). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการวิจัยสำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต) กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

อภิญญา หิรัญวงษ์. (2547). ปัจจัยเชิงสาเหตุของผลิตภาพการวิจัยนักการศึกษาสาขาอาชีวศึกษา

ในระดับอุดมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อารี พันธ์มณี. (2542). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: เลิฟแอนด์ลิพเพรส จำกัด.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper& Row.

เผยแพร่แล้ว

2024-04-26