พุทธวิธีการรับมือการวิวาท

ผู้แต่ง

  • ณัฐกิต อนุรักษ์ตระกูล ลาซาลโชติรวีนครสวรรค์

คำสำคัญ:

พุทธวิธี, วิวาท

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพุทธวิธีการรับมือการวิวาท ผลการศึกษา พบว่า ปรากฏการณ์ที่ทวีความรุนแรงขึ้นในสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล องค์กร หรือกลุ่มสังคมต่างๆ ความแตกต่างทางความคิดเห็นมักนำไปสู่การใช้อำนาจหรือความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมควรให้ความสำคัญและแสวงหาแนวทางในการแก้ไข แม้ว่าความขัดแย้งจะเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในสังคม แต่การเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียและความรุนแรง พุทธวิธีซึ่งเป็นหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาได้นำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติและสร้างสรรค์ โดยเริ่มจากการทำความเข้าใจถึงสาเหตุของความขัดแย้ง วิธีการแก้ไขปัญหา และคุณสมบัติของผู้ที่มีจิตใจสงบและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติ พุทธวิธีได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง 9 ประการ ได้แก่ การมีมุมมองที่ถูกต้อง การมีเมตตา การปฏิบัติอย่างเท่าเทียม การรักษาศีล การเป็นผู้ฟังที่ดี การยอมรับคำแนะนำ การขยันหมั่นเพียร การมีสติปัญญา และการมีมิตรที่ดี ซึ่งวิธีการเหล่านี้มีรากฐานมาจากหลักธรรมสาราณียธรรมที่เน้นการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีคุณธรรม อย่างไรก็ตาม ในบางสถานการณ์ แม้จะพยายามแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการทั้งหมดแล้ว ความขัดแย้งอาจยังคงอยู่ได้ ในกรณีเช่นนี้ พุทธวิธีแนะนำให้รักษาความเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใด และระลึกถึงสภาพธรรมชาติของโลกที่เต็มไปด้วยความไม่เที่ยงแท้ การทำความเข้าใจในหลักธรรมนี้จะช่วยให้เราสามารถยอมรับสถานการณ์และรอคอยโอกาสในการแก้ไขปัญหาในอนาคต

References

ฉวีวรรณ สุวรรณาภา. (2559). บทความวิชาการ. พระพุทธศาสนากับวัฒนธรรมไทย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.mcu.ac.th/article/detail/405. {10 ธันวาคม 2566}

นพดล กรรณิกา. (2565). ไทยโพสต์. ซูเปอร์โพล ชี้คนไทยใช้ความรุนแรงแก้ปัญหามากขึ้น เกิดความขัดแย้ง แบ่งขั้ว. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.thaipost.net/ general-news/178259/. {10 ธันวาคม 2566}

พัชราวลัย สังข์ศรี. (2561). พุทธวิธีกับการบริหารการศึกษา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ). 11(1), 1260-1270.

พิชัย ผกาทอง. (2547). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2551). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รณรงค์ กระจ่างยศ. (2553). ความขัดแย้ง และสาเหตุความขัดแย้งระหว่างบุคลากรภายในองค์กร รับเหมางานก่อสร้างที่ทำให้ส่งผลกระทบต่อความล่าช้าของงาน. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 27. กรุงเทพมหานคร : การศึกษาเพื่อสันติภาพพระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต).

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. วิธีการ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://dictionary.orst.go.th/. {10 ธันวาคม 2566}

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. วิวาท. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://dictionary.orst.go.th/. {10 ธันวาคม 2566}

สุมนทิพย์ จิตสว่าง. (2566). ไทยรัฐ ออนไลน์. ไทยติดท็อปเทนของโลก ใช้ความรุนแรงในสังคม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.thairath.co.th/news/local/2709551. {10 ธันวาคม 2566}

พุทธวิธี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-11-2024