วัฒนธรรมไทยบนพื้นฐานของพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • ณทิพรดา ไชยศิลป์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมไทย, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมไทยบนพื้นฐานของพระพุทธศาสนา ผลการศึกษาพบว่า วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจึงสามารถที่จะเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือผลิตขึ้นมาใหม่ได้ตลอดเวลา    ซึ่งสามารถผสมผสานให้เข้ากันได้กับวัฒนธรรมที่แตกต่างได้และถูกถ่ายทอดด้วยการสั่งสอนและเรียนรู้สืบต่อกันมาจนกลายเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเจริญและความเสื่อมของแต่ละสังคม สำหรับวิวัฒนาการของวัฒนธรรมไทยจะแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ระยะรวมตัวเป็นประเทศ ตั้งแต่ก่อนรวมตัวเป็นประเทศ  2) ระยะเติบโตต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น 3) ระยะปรับตัวรับวัฒนธรรมตะวันตก เริ่มสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 และ  4) ระยะแห่งการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงปัจจุบัน จากการที่วัฒนธรรมไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐานส่งผลให้ให้สังคมเข้มแข็งเกิดคุณค่าในการดำเนินชีวิตกล่าวคือ คุณค่าของคติธรรมบนหลักอริยมรรคมีองค์ 8 คุณค่าของเนติธรรมบนพื้นฐานของหลักพรหมวิหาร 4 คุณค่าของวัตถุธรรมทางด้านศิลปกรรมแสดงถึงหลักพุทธธรรมที่สอดแทรกอยู่ในงานศิลปะ เช่น การสร้างพระพุทธรูปปางสมาธิเป็น  พุทธานุสติรำลึกถึงหลักธรรมที่ตรัสรู้ ได้แก่ อริยสัจ 4 และคุณค่าของสหธรรมบนพื้นฐานของหลักสังคหวัตถุ 4 ส่งเสริมวัฒนธรรมทางสังคมและคุณธรรมที่ทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างผาสุกก่อให้เกิดความสมดุลระหว่างวัตถุกับจิตใจ

References

กรมศิลปากร. (2544). ระบบการวัฒนธรรมและคุณภาพมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: บริษัท ประชาชน จำกัด.

กฤษณา วงษาสันต์. (2542). วิถีไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.

งามพิศ สัตย์สงวน. (2542). การวิจัยทางมานุษยวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2529). พื้นฐานวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2544). สังคมและวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2545). สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ภารดี มหาขันธ์. (2544). พื้นฐานอารยธรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2532). พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ-ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วศิน อินทสระ. (2540). หลักคำสอนสำคัญในพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

วรวุธ สุวรรณฤทธิ์ และคณะ. (2546). วิถีไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สนิท สมัครการ, ศ.ดร. (2534). วิวัฒนาการทางวัฒนธรรมของสังคมไทย. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พรินติ้ง เฮ้าส์.

สุชาติ หงษา, ดร. (2550). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2540). วัฒนธรรมวิทยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

เสถียร โพธินันทะ. (2540). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ ภาค 2. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สำนักคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2538). การบริหารงานวัฒนธรรม 2537. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

สมพร เทพสิทธา. (2542). ศาสนากับการพัฒนาคนและสังคม. กรุงเทพฯ: สมชายการพิมพ์.

เอกพงศ์ ประสงค์เงิน. (2548). ภาษากับวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เอกวิทย์ ณ ถลาง, ศ. ดร. (2544). ภูมิปัญญาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์.

.(2545). ศักยภาพในวิถีไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พรินติ้ง แอนด์ พับลิชชิง จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-02-2024

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ