นวัตกรรมทางพุทธธรรมในกาลามสูตร

ผู้แต่ง

  • พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • สุรางคณา สุนทรพนาเวศ ศูนย์พอเพียงศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • อิทธิศักดิ์ เลอยศพรชัย ศูนย์พอเพียงศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ชิสา กันยาวิริยะ ศูนย์พอเพียงศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สิรินทร์ กันยาวิริยะ ศูนย์พอเพียงศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์ ศูนย์พอเพียงศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • เมธา หริมเทพาธิป ศูนย์พอเพียงศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

กาลามสูตร, พุทธธรรม, นวัตกรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ตีความนวัตกรรมทางพุทธธรรมในกาลามสูตร ผลการวิจัยพบว่า นวัตกรรมทางพุทธธรรมในกาลามสูตร มี 3 เรื่อง ได้แก่ 1. นวัตกรรมจากลักษณะการสอน พบว่า มีความเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้แบบสองทาง เป็นการเรียนเชิงรุกหรือเชิงปฏิบัติการ ที่ผู้สอนทำหน้าที่ดึงศักยภาพทางสติปัญญาของผู้เรียนออกมาด้วยการสร้างพื้นที่ปลอดภัย ไม่ตัดสินชี้ถูกชี้ผิดจากความรู้สึกนึกคิด ใช้เครื่องมือกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับการเรียนรู้ยุคปัจจุบัน ในศตวรรษที่ 21 นี้ แต่ถือเป็นสิ่งใหม่มาก ๆ ในยุคพุทธกาล 2. จากผลการวิจัยด้านนวัตกรรมจากเนื้อหาทางพุทธปรัชญา พบว่า เนื้อหาพุทธธรรมในหลักกาลามสูตรสอนให้มนุษย์เคารพในสติปัญญาที่มีอยู่ในตน สอนให้พึ่งตนเองด้วยการใช้วิจารณญาณตรวจสอบบ่อเกิดแห่งความรู้ด้วยตนเอง 3. นวัตกรรมจากเกณฑ์ค้ำประกันความชอบธรรม พบว่า สาระสำคัญของเกณฑ์ค้ำประกันความชอบธรรมนี้ กาลามสูตรช่วยตอบคำถามที่ว่า เชื่ออย่างมีวิจารณญาณแล้วดีอย่างไร คำตอบก็คือ การได้รับ “ความสุขแท้ตามความเป็นจริงในปัจจุบัน” ซึ่งเกิดจากการ “ทำดีมีสุข” เพราะเกิดความสบายใจหรือความอุ่นใจไม่ว่านรกสวรรค์จะมีจริงหรือไม่ ทำดีได้ดีหรือทำชั่วได้ชั่วจะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม

References

พระครูปลัดรังสรรค์ คุณสาโร. (2559). “กาลามสูตร : หลักพิจารณาก่อนเชื่อในพุทธปรัชญาเถรวาท”. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. (5). 2. (กรกฎาคม - ธันวาคม) : 272 - 279.

เมธา หริมเทพาธิป กีรติ บุญเจือ และพระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม. (2558). “เกณฑ์ตัดสินความจริงตามหลักกาลามสูตร”. รมยสาร. 13. (3). (กันยายน - ธันวาคม) : 69 - 78.

เมธา หริมเทพาธิป. (2561). “การมีส่วนราวมในมุมมองหลังนวยุค”. รมยสาร. 16. (3). (กันยายน - ธันวาคม) : 63-73.

วริศ ข่ายสุวรรณ พระมหาศิวกร ปญฺญาวชิโร และกรนิษฐ์ ชายป่า. (2562). “กาลามสูตร : หลักความเชื่อในยุคดิจิทัล”. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 4 (2) (กรกฎาคม - ธันวาคม) : 178 - 194.

วิเศษ แสงกาญจนวนิช และ เอนก สุวรรณบัณฑิต. (2560). “ความชอบธรรมของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะปรัชญาเพื่อการพัฒนาชาติ”. รายงานการวิจัย. สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-02-2024