การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เรื่องกระบวนการเกิดหินและ วัฏจักรหิน โดยใช้แบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดท้ายยอ
คำสำคัญ:
ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์, แบบฝึกทักษะ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เรื่องกระบวนการเกิดหินและวัฏจักรหินโดยใช้แบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เรื่องกระบวนการเกิดหินและวัฏจักรหิน โดยใช้แบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มประชากรที่ศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องกระบวนการเกิดหินและวัฏจักรหิน 2. ชุดแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เรื่องกระบวนการเกิดหินและวัฏจักรหิน และ 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เรื่องกระบวนการเกิดหินและวัฏจักรหิน สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการศึกษาพบว่า
(1) หลังการใช้ชุดแบบฝึกทักษะเรื่องกระบวนการเกิดหินและวัฏจักรหิน นักเรียนมีคะแนนผลการทดสอบผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 100
(2) ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องกระบวนการเกิดหินและวัฏจักรหิน โดยใช้แบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
องค์ความรู้ที่ค้นพบจากงานวิจัยนี้ คือการศึกษาวิจัยด้านรูปแบบการสอนร่วมกับการเรียนด้วยชุดแบบฝึกทักษะเพื่อประโยชน์ในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนได้เพราะการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ สามารถกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ.
ชวีพร คชสินธ์. (2562). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องหินและการเปลี่ยนแปลงของโลกโดยใช้แบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยโรงนอก.
ณัฐฐิญา มะนูญาธนพัฒน์ .(2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องการคูณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะการคูณ.
ธารารัตน์ ดวงจันทร์.(2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น (QSCCS).
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ภัสสร์ศศิร์ เจริญผล. (2564 ). การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้แบบฝึกการอ่านการเขียนคำ พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. นวัตกรรมภาษาไทย.
วรรณทิพา รอดแรงค้า และพิมพันธ์เดชะคุปต์. (2560). การพัฒนาการคิดของครูด้วยกิจกรรมทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว).
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://oho.ipst.ac.th/cs-curriculum-teacher-guide/. {24 กันยายน 2566}
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มจร สุรนารีสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.