การพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ จากการเขียนโปรแกรมโดยใช้บัตรคำสั่ง ด้วยสื่อบอร์ดเกม Unplugged Coding สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • จันทิมา หิรัญอ่อน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี/ Faculty of Industrial Education Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi Suphanburi Center

คำสำคัญ:

ทักษะการคิดเชิงคำนวณ, การจัดการเรียนรู้โดยใช้บัตรคำสั่ง, บอร์ดเกม Unplugged Coding

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมโดยใช้บัตรคำสั่งด้วยสื่อบอร์ดเกม Unplugged Coding  (2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมโดยใช้บัตรคำสั่งด้วยสื่อบอร์ดเกม Unplugged Coding สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดพิจิตร จำนวน 18 คน โดยทำการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมโดยใช้บัตรคำสั่ง แบบสะท้อนการเรียนรู้  แบบบันทึกกิจกรรม และแบบประเมินทักษะการคิดเชิงคำนวณ ดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 3 วงจรปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้า ด้านวิธีการและแหล่งข้อมูล   ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า การพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ เรื่อง สมบัติของวัสดุ มี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) นำเข้าสู่บทเรียน จากการใช้คำถามของครูเพื่อให้นักเรียนได้บอกขั้นตอนของการกินอาหารของตนเองและวิเคราะห์ลำดับขั้นตอนการกินอาหารร่วมกัน 2) ขั้นกิจกรรมเรียนรู้ เป็นการใช้สื่อบอร์ดเกมให้นักเรียนได้ฝึกเขียนโปรแกรมให้ตัวละครสัตว์ทำภารกิจที่ได้รับ 3) ขยายความรู้ เป็นการให้นักเรียนแต่ละกลุ่มมาอธิบาย คำสั่งของตนเอง และร่วมกันบันทึกคำสั่งที่ถูกต้องลองในใบกิจกรรมการเรียนรู้ และ 4) ขั้นสรุป นักเรียนจะได้เขียนกระดาษ Post it เพื่อร่วมกันแยกประเภทของวัสดุให้ถูกต้องตามโจทย์กำหนด และผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่าผลการพัฒนาระดับทักษะการคิดเชิงคำนวณระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้สอดคล้องกับระดับทักษะการคิดเชิงคำนวณหลังเรียนด้วยในระดับการถ่ายโอนระดับ 4 ถ่ายโอนแบบใกล้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กัลยา โสภณพณิช. (ผู้บรรยาย). (10 พฤศจิกายน 2562). นโยบายการศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศ. พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชยการ คีรีรัตน์. (2562). การใช้กระบวนการแก้ปัญหาและโปรแกรม App Inventor พัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking: CT) สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(2), 31-47.

ชัยวัฒน์ ลิ้มพรจิตรวิไล. (2561). เรียนรู้และใช้งาน micro: bit บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: อินโนเวตีฟ เอ็กเพอร์เมนต์.

เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (2539). ระเบียบวิธีวิจัย. พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

มาโนชญ์ แสงศิริ. (2561). Blockly เครื่องมือสอนเขียนโปรแกรม. [ออนไลน์], แหล่งที่มา :

http://scimath.org/article-technology/item/8652-blockly/ {25 กรกฎาคม 2566}

ฤดีรัตน์ แป้งหอม, สพลณพัทร์ ศรีแสนยงค์, และสฎายุ ธีระวณิชตระกูล. (2559). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 18(4), 278-293.

วีระพงษ์ จันทรเสนา, และมานิตย์ อาษานอก. (2566). ผลการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้โปรแกรมเชิงจินตภาพที่ส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถการเขียนโปรแกรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 6(2) 1-13.

ศรายุทธ ดวงจันทร์. (2561). ผลการใช้แนวสะเต็มศึกษาในวิชาฟิสิกส์ที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์ข้อมูลและคาดการณ์เทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2560). บทวิเคราะห์การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยประจำปี 2017-2018 โดย World Economic Forum: WEF. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://sti.or.th/sti/news-detail.php?news_type=2&news_id=250&. {25 กรกฎาคม 2566}

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ). [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://oho.ipst.ac.th/cs-curriculum-teacher-guide/ {25 กรกฎาคม 2566}

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล ปี 2561 (IMD 2018). กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2557). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์: ทิศทางสำหรับครูศตวรรษที่ 21. เพชรบูรณ์: จุลดิสการพิมพ์.

สุธีระ ประเสริฐสรรพ์. (2559). ถอดรหัสการสอนสะเต็ม. สงขลา: นาศิลป์โฆษณา.

Barefoot, C.A.S. (2014). What is computational thinking. [Online], from : https://www.barefootcomputing.org/homelearning. {July 31, 2020}

Bati, K., Yetişir, M.I., Çalişkan, I., Güneş, G., & Saçan E.G. (2018). Teaching the concept of time: A steam-based program on computational thinking in science education. Cogent Education, 5, 1507306.

Code.org. (2015). Computational thinking. [Online], from : https://code.org/curriculum/course3/1/Teacher. {July 31, 2020}

Haskell, R.E. (2000). Cognition and instruction. San Diego, CA: Academic.

Hatzilygeroudis, I., Grivokostopoulou, F., & Perikos, I. (2012, August). Using game-based learning in teaching CS algorithms. In IEEE International Conference on Teaching, Assessment and Learning for Engineering (TALE). Hong Kong: Institute of Electrical

and Electronics Engineers.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The action research planner (3re ed.). Geelong: Deakin University.

Ling, U.L., Saibin, T.C., Naharu, N., Labadin, J., & Aziz, N.A. (2018). An evaluation tool to measure computational thinking skills: Pilot investigation. The national academy of managerial staff of culture and arts herald.

Matsumoto, P.S., & Jiankang Cao. (2017). The development of computational thinking in a high school chemistry course. Journal of chemical Education, 94, 1217-1224.

Maryam, S., Azman, S., Arsat, M., & Mohamed, H. (12-14 Dec. 2017). The framework for the integration of computational thinking in ideation process, In 2017 IEEE 6th International Conference on Teaching, Assessment, and Learning for Engineering (TALE) (pp.61-65). China: Hong Kong.

NGSS Lead State. (2013). Next generation science standards: For state, by state. [Online], from:

http://epsc.wustl.edu/seismology/book/presentations/2014_Promotion/NGSS_2013.pdf {July 31, 2020}

Patton, E.W., Tissenbaum, M., & Harunani, F. (2019). MIT app inventor: Objectives, design, and development. Computational Thinking Education Springer, 19(5), 31-49.

Peel, A., Sadler, T.D., & Friedrichsen, P. (2019).Learning natural selection through computational thinking: Unplugged design of algorithmic explanations. J Res Sci Teach, 56, 983-1007.

Rozali, N.F., Zaid, N.M., Noor, N.M., & Ibrahim, N.H. (2018). Developing a unified model of teaching computational thinking. Proc.of the IEEE 10th Internationnal Conference on Engineering Education, 8-9, 223-228.

Rodriguez, B.R. (2015). Assessing computational thinking in computer science unplugged activities (Master's thesis). Colorado School of Mines.

Selby, C. (2015). Relationships: Computational thinking, pedagogy of programming, and Bloom’s Taxonomy. In The 10th Workshop in Primary and Secondary Computing Education (pp. 80-87), United Kingdom.

The International Society for Technology in Education (ISTE) and the Computer Science Teachers Association (CSTA). (2011). Operational definition of computational thinking for K-12 education. [Online], from : https://www.iste.org/explore/Solutions/Computational-thinking-for-all. {July 31, 2020}

Wing, J.M. (2006). Computational thinking. Communications of the ACM, 49(3), 33-36.Wing, J.M. (2010). Computational thinking: What and why?. [Online], from: from http://www.urces/TheLinkWing.pdf {July 31, 2020}

เกมส์อันปลักโค๊ดดิง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-12-2024