การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นรอบโรงเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ภูมิปัญญาท้องถิ่น, โรงเรียนเทศบาล, หนังสืออ่านเพิ่มเติมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นรอบโรงเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นรอบโรงเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นรอบโรงเรียนจำนวน 3 เรื่อง เก็บข้อมูลในระหว่างวันที่ 15-20 เดือนมกราคม พ.ศ. 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การหาดัชนีประสิทธิภาพ (E.I.) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า
- ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า หนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นรอบโรงเรียน มีประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้เท่ากับร้อยละ 82.27 และมีประสิทธิภาพของผลลัพธ์เท่ากับร้อยละ 93.87 ซึ่งสรุปได้ว่าประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นรอบโรงเรียนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.27/93.87 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
- ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นรอบโรงเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียนรู้
References
จารุณี ยอดกัณหา. (2540). การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมวิชาจริยศึกษาเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นุกุล ค่ำคูณ, วรรณภา มานะชัยตระกูล, และสาวินี ปรังประโคน. (2562). การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องข้อมูลทางคติชนชุมชนบ้านลองตองสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านลองตอง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาอิสระพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา.
ปราณี ตันตยานุบุตร. (2551). ภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พระจิรนันท์ จิรนนฺทโมฬี. (2564). การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องข้อมูลคติชนชุมชนบ้านนารุ่ง สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านนารุ่ง (ญาณมุนีราษฎร์สามัคคี) อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์. การศึกษาอิสระครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา.
พระพงษ์พัฒน์ ติกฺขญาโณ. (2562). การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องท้าวสุรนารีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. ครุนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา.
พระมหาอนุกูล อนุตฺตโร, พระวุฒิชัย วุฒิปญฺโญ, และอัจฉริยะ กลีบงูเหลือม. (2562). การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องข้อมูลทางคติชนของชุมชนบ้านตลาดสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านบุ (ประชารัฐพัฒนา) อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาอิสระพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา.
ไพฑูรย์ พงศะบุตร. (2549). “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่ม 3. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์.
รวิวรรณ ปรังประโคน. (2562). การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องสถานที่สำคัญในชุมชนรอบวัดสมอรายสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดสมอราย) อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. ครุนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มจร สุรนารีสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.