ชนชั้นทางสังคมตามแนวพุทธจิตวิทยา

ผู้แต่ง

  • วิเชียร นามการ นักวิชาการอิสระ
  • วานิช พาลาด

คำสำคัญ:

ชนชั้นทางสังคม, แนวพุทธจิตวิทยา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ได้ศึกษาชนชั้นทางสังคมตามแนวพุทธจิตวิทยา โดยนำหลักพุทธธรรมที่พระพุทธองค์ได้ทรง จำแนกเหล่าเวไนยสัตว์บุคคลที่มีอยู่ 4 จำพวก เปรียบได้ดังดอกบัวสี่เหล่า หมายถึง ปัญญา วาสนา บารมี และอุปนิสัย ที่สร้างสมมาแต่อดีตของบุคคล ซึ่งบัว 4 เหล่านั้น คือบัวประเภทที่ 1 ดอกบัวที่พ้นน้ำแล้ว รอแสงพระอาทิตย์จะบานวันนี้ บัวประเภทที่ 2 ดอกบัวที่ปริ่มน้ำ จะบานวันพรุ่งนี้ บัวประเภทที่ 3 ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ยังอีก 3 วันจึงจะบาน บัวประเภทที่ 4 ดอกบัวที่เพิ่งงอกใหม่จากเหง้าในน้ำ จะยังไม่พ้นภัยจากเต่าและปลา ทั้งยังต้องนำหลักการของพระพุทธเจ้าทรงจำแนกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับชีวิตในทิศต่าง ๆ ไว้ 6 ทิศด้วยกัน ได้แก่1) ทิศเบื้องหน้าคือบิดามารดา 2) ทิศ เบื้องขวาคือครูอาจารย์ 3) ทิศเบื้องหลังคือบุตรและภรรยา 4) ทิศเบื้องซ้ายคือมิตร 5) ทิศ เบื้องล่างคือลูกน้อง 6) ทิศเบื้องบนคือนักบวช, ทั้ง 6 ทิศนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องกันหรือปฏิสัมพันธ์ ด้วยต้องรู้จักหน้าที่ของตนว่ามีอะไรบ้าง เพราะหน้าที่เหล่านี้ ทิศ 6 ของใครก็ประกอบด้วยตัวของคนนั้น เองเป็นแกนกลาง แล้วแวดล้อมด้วยบุคคล อีก 6 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มล้วนมีความสัมพันธ์กับตัวของเขา ตามฐานะและหน้าที่ที่แตกต่างกันไป

ผลการศึกษาพบว่าชนชั้นทางสังคมตามแนวพุทธจิตวิทยา ที่ช่วยให้มนุษย์เรา สามารถปรับตัวไปตามสถานการณ์หรือสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้ กล้าเผชิญกับปัญหา และสามารถทำความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต มีความมั่นคงทางอารมณ์สามารถควบคุมตนเองได้  เข้าใจปัญหาและสามารถวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาและตัดสินใจแก้ปัญหาของตนเองได้นำมาซึ่งความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีการแสดงออกที่เหมาะสม

References

พระเทพวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ). (2518). การพัฒนาจิต. นครปฐม: โรงพิมพ์ มหามกุฎราชวิทยาลัย. 1.

สิริวัฒน์ ศรีเครือดง. (2518). พุทธจิตวิทยาเพื่อพัฒนาศักยภาพของมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 299.

อานนท์ อาภาภิรมย์. (2518). สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แพร่วิทยา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.baanjomyut.com/library/social_sciences/26.html {15 ตุลาคม 2566}

Grant, J. Andrew. (2001). "คลาส คำจำกัดความของ" อ้างใน Jones, RJ Barry (ed.). Routledge

Encyclopedia of International Political Economy: Entries A–F . Taylor & Francis. p. 161.

Marbella International University Centre. (2023). Why we love social psychology. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://miuc.org/why-we-love-social-psychology/amp/ {15 ตุลาคม 2566}

SimplyPsychology. (2023). Sociology. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.simplypsychology.org/theories/sociology {15 ตุลาคม 2566}

พุทธจิตวิทยา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-11-2024