การศึกษาผลการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อจัดการเรียนการสอนในรายวิชาดนตรีสากลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดป่าสะแก อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
ช่องวีดีโอยูทูป, การจัดการเรียนรู้, การพัฒนาทักษะบทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องการศึกษาผลการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อจัดการเรียนการสอนในรายวิชาดนตรีสากลของนักเรียนชั้นประถมศึกษา มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ช่องวีดีโอยูทูป ในการเรียนการสอน รายวิชาดนตรีสากล ระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านดนตรีสากล โดยใช้ช่องวีดีโอ ยูทูป ประกอบการเรียนการสอน โดยมีหน่วย ย่อยของการเรียนรู้ ดังนี้ 1 การตั้งสายกีตาร์ 2 การนับจังหวะ 3 การจับคอร์ดกีต้าร์ Em/C/G/D 4 การเล่นเพลง
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนวัดป่าสะแก ตำบลป่าสะแก อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 20 คน ผลการศึกษา พบว่า
(1) ผลของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ช่องวีดีโอยูทูป ในการเรียนการสอน รายวิชาดนตรีสากล ระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.20 / 89.50
(2) ความพึงพอใจในการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านดนตรีสากล โดยใช้ช่องวีดีโอยูทูป ประกอบการเรียนการสอน โดยมีหน่วยย่อยของการเรียน เรียงลำดับตามผลของคะแนนความพึงพอใจภาพรวม ซี่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.59 อยู่ในยระดับ ดีมากที่สุด
การศึกษานี้เน้นย้ำถึงศักยภาพของการผสานการใช้วิดีโอ YouTube ในการศึกษาด้านดนตรี เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียน เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะทางดนตรีของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา
References
Miller, J. (2005). Most of ESL students have trouble with the articles. International Education Journal. 5(5), 80 – 88.
Schunk, D. H. (1991). Self-efficacy and academic motivation. Educational Psychologist, 26 (3-4), 207–231.
William Winn. (1990). Some Implications of Cognitive Theory for Instructional Design. Instructional Science. An International Journal of the Learning Sciences. 9(1), 53-69.
ณัชชา โสคติยานุรักษ์. (2543). ทฤษฎีดนตรี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรนันท์ ศรีวิทัศน์, กัญณภัทร นิธิศวราภากุล, ปิยลักษณ์ อัครรัตน์. (2563). การจัดการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้วีดีโอบนยูทูป ร่วมกับแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง และพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 11(2), 221-233.
ประพจน์ สมรรถไท, วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์. (2563). อิทธิพลของดนตรีพื้นหลังที่ส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึก และความคิดสร้างสรรค์ กรณีศึกษา: สภาพแวดล้อมแบบพื้นที่ทำางานร่วมกัน. วารสารสาระศาสตร์ ฉบับที่ 4/2563. 1015-1016.
เผ่าไท ผคุณสินธ. (2563). การศึกษาความต้องการดนตรีสมัยนิยมของกลุ่มวัยรุ่นไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรรณวุฒิ วรรณารุณ. (2563). ผลของการใชกจกรรมดนตรีตามแนวคิดของโคไดที่มีตอทักษะทางดนตรี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่่ 6. ปริญญานิพนธ์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อัครเทพ อัคคีเดช. (2563). การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเรื่อง เครื่องดนตรีสากลสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาศิลปศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มจร สุรนารีสาร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.