คุณภาพอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพของบุคลากรผู้รับสัมผัสอากาศภายในอาคารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

ผู้แต่ง

  • กฤษฎาธาร ชูช่วย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ พัทลุง 93210
  • สุวรรณี ผุดสุวรรณ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ พัทลุง 93210
  • สุปานดี มณีโลกย์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ พัทลุง 93210
  • โสมศิริ เดชารัตน์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ พัทลุง 93210

คำสำคัญ:

แบคทีเรีย, เชื้อรา, คุณภาพอากาศ, ผลกระทบต่อสุขภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของบุคลากรและผู้ใช้บริการ โดยใช้เครื่องมือตรวจวัดพารามิเตอร์ทางคุณภาพอากาศภายในอาคาร (IAQ parameters) ที่ประกอบด้วยเครื่องมือ Anderson 1-stage cascade impactor ในการเก็บตัวอย่างเชื้อแบคทีเรีย (Bacteria) และเชื้อรา (Fungi) แล้วนำมาวิเคราะห์หาปริมาณของเชื้อ พร้อมทั้งการตรวจวัดอุณหภูมิทั้งภายในและภายนอกอาคาร และมีการใช้แบบสอบถามปัญหาสุขภาพของผู้ที่อยู่ในอาคาร เพื่อนำมาแปลผลคุณภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อผู้รับสัมผัสมลพิษอากาศภายในอาคาร ในกลุ่มบุคลากรที่ปฏิบัติงานภายในหอสมุด จำนวน 20 คน และผู้ใช้บริการอีก 349 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการศึกษา พบว่า อุณหภูมิทั้งภายนอกและภายในอาคาร ซึ่งเป็นตัวชี้วัดภาวะสบายเชิงความร้อนมีอุณหภูมิระหว่าง 24.53-26.40 °C เมื่อเปรียบเทียบกับค่าอุณหภูมิที่เหมาะสมภายในอาคารที่กำหนดในประกาศกรมอนามัยซึ่งมีค่าระหว่าง 24.0-26.0 °C ภายในอาคารสำนักหอสมุดจึงมีอุณหภูมิที่เหมาะสมเป็นไปตามเกณฑ์ ส่วนปริมาณความเข้มข้นของเชื้อแบคทีเรียเละเชื้อราไม่มีบริเวณใดที่ค่าความเข้มข้นเกินเกณฑ์มาตรฐานจึงไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ แต่อาจมีอาการ Sick Building Syndrome หากได้รับการสัมผัสแบคทีเรียและเชื้อราโดยตรง เช่น อาการแน่นจมูก ไอ คอแห้ง และปวดศีรษะ เป็นต้น ซึ่งจะพบในกลุ่มบุคลากรที่ปฏิบัติงานมากกว่ากลุ่มผู้ใช้บริการเนื่องจากใช้เวลาอยู่ในอาคารทุกวัน โดยประมาณ 7-8 ชั่วโมง

References

มหาวิทยาลัยทักษิณ, สำนักหอสมุด. (2565). Dashboard : การเข้าใช้บริการห้องสมุด. สืบค้น 20 ตุลาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/aRxzu

Archangelidi O, Sathiyajit S, Consonni, D., Jarvis, D., & Matteis, S. (2021). Cleaning products and respiratory health outcomes in occupational cleaners: A systematic review and meta-analysis. Occup Environ Med, 78, 604-617.

Borre, L. V. D., Deboosere, P. (2018). Health risks in the cleaning industry: A belgian census-linked mortality study (1991-2011). Int Arch Occup Environ Health, 91, 13-21.

Department for Education. (2016). Guidelines on ventilation, thermal comfort and indoor air quality in schools. Retrieved July 21, 2022, from https://shorturl.asia/9hbWO

Department of Environmental Quality Promotion. (2015). Knowledge air : Air pollution. Retrieved October 20, 2022, from https://datacenter.deqp.go.th/knowledge

Dhungana P, Chalise M. (2020). Prevalence of sick building syndrome symptoms and its associated factors among bank employees in Pokhara Metropolitan, Nepal. Indoor Air, 30(2), 244-250. Doi:10. 1111/ina.12635

Dhvani P. (2016). Indoor air quality in LEED-Past present and future. Retrieved October 20, 2022, from https://shorturl.asia/2zb4i

Phumas P. (2021). Monitoring of air quality in some classrooms of Faculty of Science and Technology, Chiang Mai Rajabhat. Thai Science and Technology Journal (TSTJ), 29(1), 91-100.

Raju S., Siddharthan T., McCormack M. C. (2020). Indoor air pollution and respiratory health. Clin Chest Med, 41(4), 825-843. Doi:10.1016/j.ccm.2020.08.014

Ritwichai A, Buathong N. (2017). Sick building syndrome and stress among office workers. Chula Med J, 61(4), 525-538.

Svanes, Ø, Bertelsen R. J, Lygre S. H L, Carsin, A. E, Antó, J. M, Forsberg, B., Garcia-Garcia, J. M, Gullón, J. A, Heinrich, J., Holm, M., Kogevinas, M., Urrutia, I., Leynaert, B., Moratalla, J. M, Moual, N. L., Lytras, T., Norbäck, D., Nowak, D., Olivieri, M., Pin, I., Probst-Hensch, N., Schlünssen, V., Sigsgaard, T., Skorge, T. D, Villani, S., Jarvis, D., Zock, J. P, & Svanes, C. (2018). Cleaning at home and at work in relation to lung function decline and airway obstruction. Am J Respir Crit Care Med, 197, 1157-1163.

U.S. Environmental Protection Agency. (2017). Indoor air quality. Retrieved October 2, 2022, from https://www.epa.gov/report-environment/indoor-air-quality

World Health Organization. (2009). Guidelines for indoor air quality :Dampness and mould. Retrieved October 2, 2022, from https://www.who.int/publications/i/item/9789289041683

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-31

How to Cite

ชูช่วย ก., ผุดสุวรรณ ส., มณีโลกย์ ส., & เดชารัตน์ โ. (2024). คุณภาพอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพของบุคลากรผู้รับสัมผัสอากาศภายในอาคารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง. วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ, 13, 70–84. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/995

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์