การพัฒนาชุดกิจกรรมทางศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าสำหรับเยาวชนจากการวิเคราะห์รูปแบบอัตลักษณ์ของงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้

ผู้แต่ง

  • ธีติ พฤกษ์อุดม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา 90000

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์รูปแบบอัตลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรมภาคใต้

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้ เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมทางศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าสำหรับเยาวชนจากการวิเคราะห์รูปแบบอัตลักษณ์ของงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้ กลุ่มประชากรตัวอย่าง คือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีแนวปฏิบัติที่ดี ปราชญ์ชาวบ้านในท้องถิ่นที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านศิลปหัตถกรรมภาคใต้ในแต่ละประเภทและกลุ่มเยาวชน ในจังหวัดสงขลาที่มีอายุ 15-25 ปี เป็นวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Design) เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมศิลปะจากการวิเคราะห์รูปแบบอัตลักษณ์ศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมละ 2 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น 2 วัน วันละ 3 กิจกรรม 2) แบบสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมศิลปะ เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน 3) แบบวัดเครื่องมือการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน 4) แบบสังเกตพฤติกรรมผู้ร่วมกิจกรรมศิลปะ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่อกิจกรรมศิลปะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบของอัตลักษณ์ที่สำคัญ คือ สีสันที่ใช้มีความสดใสเป็นพิเศษเล่นสีที่มีลักษณะตัดกันอย่างชัดเจนและมีการตกแต่งด้วยลวดลายที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติในท้องถิ่น การใช้วัสดุธรรมชาติที่มีในท้องถิ่นภาคใต้ชุดของกิจกรรมศิลปะที่พัฒนาขึ้นจากการวิเคราะห์รูปแบบของอัตลักษณ์ประกอบด้วยกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้ จำนวน6 กิจกรรม 1) ขีดเขียนลายหม้อสทิงหม้อ 2) ตกแต่งโลหะด้วยวิธีการทำเครื่องถมเมืองนคร 3) กิจกรรมแกะลายสมุดด้วยลายเว่า 4) กิจกรรมเติมแต่งลายผ้ายก 5) กิจกรรมสานลายย่านลิเภา 6) กิจกรรมแกะลายของตกแต่งหนังตะลุง ใช้เวลาในการปฏิบัติจำนวน 1 ชั่วโมงต่อกิจกรรม และผลจากการนำกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้  พบว่า หลังทำกิจกรรมเยาวชนมีค่าเฉลี่ยการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สูงกว่าก่อนร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

นิรมล ตีรณสาร. (2525). ศิลปศึกษากับครูประถม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตีรณสาร.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2538). ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: คอมแพคท์พริ้นท์.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2544). มรดกทางวัฒนธรรมพื้นบ้าน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ 1999.

ศักดา บุญยืด. (2546). การศึกษาคุณค่าศิลปะแกะสลักไม้ในหอไตรภาคอีสานตอนล่าง ของผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์และนักศึกษาระดับปริญญาตรีโปรแกรมวิชาศิลปะศึกษา และโปรแกรมวิชาศิลปกรรมสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อลสิณา อนันตะอาด. (2556). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเรื่องการออกแบบลายผ้าทอตามภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อัจฉรากุล ทองรอด. (2552). การศึกษาคุณค่าในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้ ตามการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษาหลักสูตรศิลปกรรม ระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคใต้ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2544). ภูมิปัญญาทักษิณ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิภูมิปัญญา.

Libby, W. M. L. (2000). Using art to make art: Creative activities using masterpieces. California: Wadsworth Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-31

How to Cite

พฤกษ์อุดม ธ. (2024). การพัฒนาชุดกิจกรรมทางศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าสำหรับเยาวชนจากการวิเคราะห์รูปแบบอัตลักษณ์ของงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้. วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ, 13, 52–69. สืบค้น จาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/TSULJ/article/view/994

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์