กระบวนการประชาธิปไตยชุมชนเพื่อการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลนาดี จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • วลีรัตน์ แสงไชย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดอุดรธานี อุดรธานี 41000

คำสำคัญ:

กระบวนการประชาธิปไตยชุมชน, การบริหารจัดการที่ดี, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, องค์การบริหารส่วนตำบลนาดี, การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่

บทคัดย่อ

กระบวนการประชาธิปไตยชุมชนที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาดี จังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อการถอดบทเรียนของกระบวนการประชาธิปไตยชุมชน และการค้นหาแนวทางการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลนาดี โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 9 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จากการศึกษา พบว่า ดำเนินการในลักษณะมีความเป็นอิสระและมีความพยายามสร้างการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคประชาชนโดยอิสระและการมีมติภายหลังเสมอหากในคราวการหารือประเด็นต่าง ๆ มีข้อถกเถียงและจำเป็นต้องได้ข้อยุติ เพื่อการนำไปดำเนินการต่าง ๆ โดยอิสระ ปราศจากการชี้นำของผู้นำชุมชนและผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลและมีความเสมอภาคของผู้เข้าร่วม ประชาชนทุกคนสามารถนำเสนอได้และมีความพร้อมในการเสนอแนวคิดและแนวทาง ในขณะที่บางส่วนแม้ไม่ได้เป็นผู้เสนอแต่เป็นผู้ปฏิบัติตามเสียงส่วนใหญ่ได้ดี โดยกลุ่มตัวอย่างให้ความเห็นตรงกันว่า การดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลนาดีเป็นต้นแบบการดำเนินการที่ก่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีและถือเป็นแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งสามารถใช้เป็นต้นแบบของการนำไปจัดการขั้นตอนของการสร้างกระบวนการประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในชุมชน จากฐานรากของปัญหาและความต้องการของประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรม

References

ชัยวัฒน์ โยธี. (2560). ตัวแทนทางการเมืองในมิติวิถีประชาธิปไตยชุมชน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 12(1), 209-221.

ภาวินี รอดประเสริฐ, และวราวุธ บุญศร. (2561). ประชาธิปไตยชุมชน : กระบวนการขับเคลื่อนสังคม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(2), 168-170.

มุทุดา แก่นสุวรรณ, เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร, ภักดี โพธิ์สิงห์, และสมเจตน์ ภูศร. (2561). แนวทางการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (จังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร). วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 143-156.

สันติธาร เสถียรไทย. (2564). THE GREAT REMAKE สู่โลกใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มติชน.

อับดุลเลาะ เจ๊ะหลง, และจิรัชยา เจียวก๊ก. (2563). การถอดบทเรียนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในมนุษย์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(2), 241-250.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์