การวิเคราะห์เนื้อหาและกลยุทธ์การสื่อสารเกี่ยวกับ Digital Disruption ประเทศไทย ที่ปรากฏในสื่อ YouTube
คำสำคัญ:
ดิจิทัลดิสรัปชั่น, การวิเคราะห์เนื้อหา, กลยุทธ์การสื่อสารบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการวิเคราะห์เนื้อหาและกลยุทธ์การสื่อสารที่มาจากคำค้น “Digital Disruption ประเทศไทย” โดยจัดอันดับจากการปรากฏให้เห็นรายชื่อข้อความเชื่อม Link 10 อันดับแรก ที่ปรากฏในหน้าเว็บเพจ YouTube กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ คลิปวีดิทัศน์ ที่สามารถค้นหาได้ด้วยคำค้น “Digital Disruption ประเทศไทย” ซึ่งปรากฏใน YouTube ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ถึง 1 มกราคม พ.ศ. 2563 10 อันดับ ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เป็นวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า เนื้อหาประเด็นสำคัญ ๆ ที่นำเสนออยู่ใน YouTube ได้แก่ 1) ความสำคัญของการเกิด Digital Disruption 2) ผลกระทบที่มีต่อสังคม 3) เทคโนโลยีดิจิทัลที่ถูกกล่าวถึงและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลก ถึงขั้นทำให้การทำงานแบบเดิม ๆ หยุดชะงัก หรือล้มเลิกไป โดยมีจำนวนครั้งในการกล่าวซ้ำมากที่สุด เรียงลำดับ ดังนี้ ได้แก่ 1) Blockchain 2) Big Data 3) AI 4) FinTech และ 5) IoT ในด้านการวิเคราะห์กลยุทธ์การสื่อสาร พบ 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การวางกลยุทธ์ในการเล่าเรื่องผ่านชุดนำเสนอ (Presentation) ที่ประกอบไปด้วย (1) คำ ข้อความ ค่าสถิติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เล่า (2) ภาพนิ่ง ที่แสดงกราฟ ภาพเทคโนโลยี ภาพบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเล่าขณะนั้น (3) ภาพเคลื่อนไหวที่แสดงภาพผู้คนเข้าร่วมงานที่มีความหลากหลาย เช่น เพศ อายุ บรรยากาศงาน และ (4) คลิปวีดิโอ 2) กลยุทธ์การสื่อสารด้านผู้ส่งสาร อาศัยความน่าเชื่อถือของผู้ส่งสารตามองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่ (1) ความน่าดึงดูด (2) ความเชี่ยวชาญ (3) ความน่าไว้วางใจ 3) กลยุทธ์การสื่อสารด้านการนำเสนอสารในสื่อ มี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) แก่นความคิด มีโครงสร้างการเล่าเรื่องที่แน่นอน เป็นลักษณะคู่ตรงกันข้าม (Binary Opposition) (2) การแสดงออกตรรกะทางภาษาในตัวอย่างประกอบการเล่าเรื่อง
References
กาญจนา แก้วเทพ, และสมสุข หินวิมาน. (2553). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: อินทนิล.
จิรวรรณ กมลรัตนโยธิน. (2536). การวิเคราะห์เนื้อหาและความหมายของรายการสารคดีสิ่งแวดล้อมทางโทรทัศน์ (2532-2534) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรรณพิลาศ กุลดิลก. (2557). ความน่าเชื่อถือของแหล่งสารในสื่อออฟไลน์และสื่อออนไลน์ของวัยรุ่นไทย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 22(38), 73-92.
ศิริพร เภกะสุต. (2562). Digital Disruption จุดเริ่มและจุดเปลี่ยน. สืบค้น 9 มิถุนายน 2563, จาก https://www.posttoday.com/economy/columnist/602086
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สำนักวิชาการ. (2562). Disruptive Technology การดำเนินชีวิตจะเปลี่ยนไป. สืบค้น 6 มกราคม 2563, จาก http://www.parliament.go.th/library
สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์. (2562). ถอดรหัส ‘ดิจิทัลดิสรัปชั่น’ กูรู แนะ 'ปรับตัว’ ก่อนธุรกิจสูญพันธุ์. สืบค้น 9 มิถุนายน 2563, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/856081
อภิเกียรติ เตชะจารุพันธ์. (2560). DIGITAL DISRUPTION คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำธุรกิจ. สืบค้น 9 มิถุนายน 2563, จาก https://blog.Ourgreen fish.com/th/digital-disruption-คืออะไร-business
Karyotakis, Minos-Athanasios, Kiourexidou, Matina, & Antonopoulos, Nikos. (2019). Media and youtube appeal in social movement mobilization : The case of anti-tourism. Media Watch, 10(3), 686-701.
Kim, Bohyun. (2020). Moving forward with digital disruption. Library Technology Reports, 56(2), 5-22.
Schwab, Klaus. (2016). The fourth industrial revolution. New York: Crown Publishing.
Schwab, Klaus. (2018). Shaping the fourth industrial revolution. Geneva: World Economic Forum.
Setoglu, Aysegul, Ermec, Catli, Ozlem, & Korkmaz, Sezer. (2014). Examining the effect of endorser credibility on the consumers’ buying intentions: An empirical study in Turkey. International Review of Management and Marketing, 4(1), 66-77.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.