การวางแผนทางการเงินเพื่อเตรียมการเกษียณอายุสำหรับข้าราชการและพนักงานเอกชน ในเขตจังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
การเกษียณ, พฤติกรรมการออมและการลงทุน, การวางแผนทางการเงินบทคัดย่อ
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์และปัจจัยด้านพฤติกรรมการออมและการลงทุนที่มีผลต่อการวางแผนทางการเงิน เพื่อเตรียมการเกษียณอายุสำหรับข้าราชการและพนักงานเอกชน ในเขตจังหวัดปทุมธานี ช่วงอายุ 23-50 ปี จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย อัตราร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Independent Sample t-test และ One-Way ANOVA อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลจากการศึกษา พบว่า ข้าราชการและพนักงานเอกชนผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-40,000 บาท ความถี่ในการออมและการลงทุนต่อปี 4 ครั้งขึ้นไป ระยะเวลาการออมและการลงทุน 6-10 ปี ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า กลุ่มข้าราชการ ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และค่าใช้จ่ายต่อเดือน มีผลต่อการวางแผนทางการเงิน เพื่อเตรียมการเกษียณอายุ ปัจจัยด้านพฤติกรรมการออมและการลงทุน ได้แก่ อัตราผลตอบแทนจากการออมและการลงทุน ความถี่ในการออมและการลงทุน จำนวนเงินที่ออมและลงทุน แนวโน้มการออมและการลงทุนในอนาคต และแหล่งข้อมูลการออมและการลงทุน มีผลต่อการวางแผนทางการเงินเพื่อเตรียมการเกษียณอายุ ส่วนกลุ่มพนักงานเอกชน ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ ระดับการศึกษา มีผลต่อการวางแผนทางการเงินเพื่อเตรียมการเกษียณอายุ ปัจจัยด้านพฤติกรรมการออมและการลงทุน ความถี่ในการออมและการลงทุนมีผลต่อการวางแผนทางการเงินเพื่อเตรียมการเกษียณอายุ
References
กัลยา วานิชย์บัญชา, และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2560). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 30). กรุงเทพฯ: สามลดา.
จำนวนประชากรจังหวัดปทุมธานี. (2561). สืบค้น 12 สิงหาคม 2562, จาก http://stat.bora.dopa.go.th
จิณณรัตน์ วราบุญนาคภิรมย์. (2558). การเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุของพนักงาน บริษัท ยูเซ็น โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ญาณิศา เผื่อนเพาะ. (2557). การใช้ความหมายและที่มาของความหมาย กระบวนการออมเงิน ปัญหาและอุปสรรค ในการออมเงิน ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(2), 258-261.
พรทิพย์ เกิดขำ, และศิรภัสสร โรจนสัญชัยกุล. (2553). พฤติกรรมการออมส่วนบุคคลของพนักงาน บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (รายงานผลการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการการเงินส่วนบุคคลของข้าราชการตำรวจภูธร จังหวัดชุมพร. วารสารวิทยาการจัดการ, 32(2), 29-57.
สุขใจ น้ำผุด, และอนุชนาฎ เจริญจิตรกรรม. (2551). กลยุทธ์การบริหารการเงินบุคคล (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อนงนาฎ ศุภกิจวณิชกุล. (2558). พฤติกรรมการออมและการบริหารการเงินก่อนเกษียณอายุ กรณีศึกษาบุคลากรมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.