การเปรียบเทียบระยะเวลาการเรียนรู้ในการสอนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยทักษิณ
คำสำคัญ:
ปริมาณการใช้งาน, ระยะเวลาการเรียนรู้, การสอนออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาร้อยละปริมาณการใช้งานระบบการสอนออนไลน์จำแนกตามการเชื่อมโยงระบบเครือข่าย ระบบเครือข่ายวิทยาเขต และระบบปฏิบัติการ 2) เปรียบเทียบระยะเวลาการเรียนรู้การสอนออนไลน์จำแนกตามการเชื่อมโยงระบบเครือข่าย ระบบเครือข่ายวิทยาเขต และระบบปฏิบัติการ โดยใช้ข้อมูลการจราจรคอมพิวเตอร์ (Log File) ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ แสดงถึง แหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง ช่วงเวลา วันที่ และระบบปฏิบัติการของระบบการเรียนออนไลน์มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยมีระยะเวลาการใช้งานตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2563 - 19 สิงหาคม 2563 ผลการวิจัย พบว่า 1) ปริมาณการใช้งานระบบการสอนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยทักษิณ ตั้งแต่ วันที่ 20 กรกฎาคม 2563 - 19 สิงหาคม 2563 พบว่า การเชื่อมโยงระบบเครือข่ายภายนอก ระบบเครือข่ายวิทยาเขตพัทลุง และระบบปฏิบัติการ iPhone มีการใช้งานระบบการสอนออนไลน์มากที่สุด 2) เปรียบเทียบระยะเวลาการเรียนรู้การสอนออนไลน์จำแนกตามการเชื่อมโยงระบบเครือข่าย ระบบเครือข่ายวิทยาเขต และระบบปฏิบัติการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
วิทัศน์ ฝักเจริญผล, กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล, พินดา วราสุนันท์, กุลธิดา นุกูลธรรม, สุมิตร สุวรรณ, สินีนุช สุวรรณาภิชาติ, และกิติศาอร เหล่าเหมณี. (2563). ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ภายใต้สถานการณ์ระบาดไวรัส Covid-19. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 1, 44-61.
Bonk, C. J., Lee, M. M., Kou, X., Xu, S., & Sheu, F. R. (2015). Understanding the self-directed online learning preferences, goals, achievements, and challenges of MIT OpenCourseWare subscribers. Educational Technology & Society, 18(2), 349-365.
Haopeng, Wu, & Satjaharuthai, K. (2019). Using mobile application for teaching Chinese vocabulary in Thailand high school. In The 43rd ASAIHL Thailand Conference: The Association of Southeast Asian Institutions of Higher Learning (pp.25-33). Bangkok: Sripatum University.
Ma, J., Han, X., Yang, J., & Cheng, J. (2015). Examining the necessary condition for engagement in an online learning environment based on learning analytics approach: The role of the instructor. The Internet and Higher Education, (24), 26-34.
Mockus, L., Dawson, H., Edel-Malizia, S., Shaffer, D., An, J., & Swaggerty, A. (2011). The impact of mobile access on motivation: Distance education student perceptions. World Campus Learning Design, 4(5), 1-34.
Suvarnabhumi, K., & Jorajit, S. (2019). Learning resources in the 21st century for promoting lifelong learning in medical education. Srinagarind Med Journal, 35(4), 535-543.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.