การพัฒนาฐานข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • สุนิษา ขันนุ้ย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ พัทลุง 93210
  • พงษ์พันธ์ พิณโท สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ พัทลุง 93210
  • อัตพล เทพสง สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ พัทลุง 93210
  • จรรยา ชูทับ คณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ พัทลุง 93210
  • ธมลวรรณ ขุนไพชิต สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ พัทลุง 93210

คำสำคัญ:

ปราชญ์ท้องถิ่น, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ฐานข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง, พัทลุง

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง ศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากปราชญ์ท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง และพัฒนาระบบฐานข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ปราชญ์ท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง จำนวน 22 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง และองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากปราชญ์ท้องถิ่น แบบประเมินระบบฐานข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง การพัฒนาระบบฐานข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง ใช้ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows 10 ระบบจัดการฐานข้อมูล MySQL ภาษา PHP โปรแกรมที่ใช้ในการเขียนระบบ NetBeans IDE 8.0 ภาษา Java script and jQuery ผลการศึกษา พบว่า ปราชญ์ท้องถิ่นจังหวัดพัทลุงส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุมากกว่า 50 ปี องค์ความรู้ของปราชญ์ส่วนใหญ่เกิดจากการศึกษาแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ได้รับการถ่ายทอดความรู้จากบรรพบุรุษ และเข้ารับการอบรมจากหน่วยงานต่าง ๆ ปราชญ์มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่สนใจ ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่คณะหรือบุคคลที่มาศึกษาดูงาน จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุตรและเครือญาติ โดยปราชญ์ส่วนใหญ่ได้รับการยกย่องและได้รับการประกาศเกียรติคุณจากองค์กรต่าง ๆ ด้านองค์ความรู้ของปราชญ์ท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง ประกอบด้วยองค์ความรู้ด้านเกษตรกรรม คือ การทำปุ๋ยชีวภาพ การเลี้ยงหมูหลุมชีวภาพ การทำดินหมัก และเทคนิคการเลี้ยงสัตว์ ด้านการแพทย์แผนไทย คือ การนวดและการรักษาโรคเกี่ยวกับกระดูก ระบบประสาท และกล้ามเนื้อ ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ การบำรุงรักษาดินด้วยการใช้หญ้าแฝก และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ด้านศิลปกรรม คือ มโนราห์ และการแสดงหนังตะลุง และด้านอุตสาหกรรม ศิลปกรรม และหัตถกรรม คือ การผลิตผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว และการแกะรูปหนังตะลุง การพัฒนาระบบฐานข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง เนื้อหาระบบประกอบด้วยข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง ภูมิปัญญาท้องถิ่น สื่อการเรียนรู้ภูมิปัญญา และแผนที่แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญา ผู้ใช้สามารถสืบค้นจากคำสำคัญ การกำหนดเงื่อนไข และจากการจัดหมวดหมู่ความรู้ การประเมินระบบฐานข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง พบว่า ผู้ใช้ระบบมีความพึงพอใจในภาพรวมระดับมาก ได้แก่ ด้านประสิทธิภาพของระบบ ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ และด้านการออกแบบ ตามลำดับ

References

จารุวรรณ รัตนโภคา. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้หลักสูตรฐานสมรรถนะวิชาชีพหัตถกรรมโดยภูมิปัญญาไทย (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ธานี ชูกำเนิด, ฐิติมดี อาพัทธนานนท์, มารุต ดำชะอม, และเอกรินทร์ สังข์ทอง. (2558). การพัฒนารูปแบบกระบวนการนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของปราชญ์ชาวบ้านภาคใต้. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(2), 308-317.

บุญส่ง นาแสวง. (2556). กลยุทธ์การพัฒนาสังคมของปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดขอนแก่น (รายงานผลการวิจัย). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.

พรทิพย์ ชนะเค้า. (2547). กลยุทธ์การสื่อสารภูมิปัญญาท้องถิ่นของปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์). สืบค้นจาก http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082547000567

พัชราภรณ์ ชัยพัฒนเมธี. (2561). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนวังก์พง อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 10(2), 263-276.

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ทีมวิจัยโครงการศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นใต้. (2550). การศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นใต้ด้านอาหารพื้นบ้าน. สืบค้น 21 พฤศจิกายน 2561, จาก https://fliphtml5.com/bookcase/mwll

วาสนา มะเจะแน. (2552). "เรือกอและจำลอง" ธุรกิจที่สร้างรายได้จากภูมิปัญญาชาวบ้าน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 1(3), 1-18.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สุพัฒน์ ศรีสวัสดิ์, พนม สุขจันทร์, จารุวรรณ ประดับแสง, และสมนึก ลิ้มเจริญ. (2556). พืชสมุนไพรประจำถิ่นและภูมิปัญญาการประยุกต์ใช้สำหรับแพทย์พื้นบ้านในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 5(4), 14-27.

อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ, สุวรรณา เขียวภักดีพร, พระปลัดสุระ ญาณธโร, กันตพัฒน์ พรสิริวัฒนสิน, และปกรณ์ ปรียากร. (2561). บทบาทของปราชญ์ชาวบ้านในการจัดการตนเองของชุมชน. วารสารเกษมบัณฑิต, 19(ฉบับพิเศษ), 218-230.

Naryatmojo, D. L. (2019). Internalization the concept of local wisdom for students in the listensing class. Arab world English journal, 10(1), 382-394.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์