“Love & Sex” การนัดและพูดคุยผ่านแอปฯ หาเพื่อน : กรณีศึกษาของวัยรุ่นชายรักชายที่ใช้แอปพลิเคชัน Blued
คำสำคัญ:
ชายรักชาย, แอปพลิเคชัน Blued, การให้ความหมาย, การแสดงออกทางเพศเชิงสัญลักษณ์, รูปแบบการนำเสนอตัวตนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการให้ความหมายและการแสดงออกทางเพศเชิงสัญลักษณ์ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการนำเสนอตัวตน 3) เพื่อศึกษาความเสี่ยงและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้แอปพลิเคชัน Blued ในการหาเพื่อน คู่รัก หรือคู่นอน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ วัยรุ่นชายรักชายที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ที่ใช้แอปพลิเคชัน Blued ในการหาเพื่อน คู่รัก หรือคู่นอน จำนวน 3 คน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560-2561 ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และสังเกต เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกการสัมภาษณ์และแบบบันทึกการสังเกต ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาคำสำคัญของประเด็นต่าง ๆ แล้วจัดกลุ่มเป็นหัวข้อย่อย ๆ ก่อนทำการสรุปและวิเคราะห์ออกมาด้วยการพรรณนาแล้วนำไปตีความเป็นความเรียง ประกอบกับการยกตัวอย่างเหตุการณ์ ข้อความ ที่ได้จากการสัมภาษณ์และการสังเกต เพื่อให้ตอบคำถามการวิจัยอย่างสมบูรณ์ ผลการวิจัย พบว่า การให้ความหมายและการแสดงออกทางเพศเชิงสัญลักษณ์ พบว่า การให้ความหมายแอปฯ ให้เป็นพื้นที่ของการคลายความเหงา เป็นแอปฯที่สามารถเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายได้ และยังเป็นพื้นที่ที่ใช้ตอบสนองความต้องการทางเพศของตนเอง โดยการแสดงออกผ่านรูปภาพจากโปรไฟล์ที่มีการโชว์เรือนร่างข้อความจากการสนทนาที่สื่อถึงเรื่องเพศและการใช้ภาษาที่ไม่สุภาพ รูปแบบการนำเสนอตัวตน พบว่า การนำเสนอตัวตนของผู้ให้ข้อมูลจะนำเสนอผ่านการใช้รูปภาพโปรไฟล์หรือข้อความสนทนากับผู้ใช้งานรายอื่นเพื่อให้ทราบถึงความต้องการของตนเอง ความเสี่ยงและผลกระทบ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลถูกลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จากการที่คาดหวังและการถูกบล็อกจากคู่สนทนา แต่ผู้ให้ข้อมูลกลับรู้สึกว่าตนไม่ได้รับผลกระทบเพียงแค่รู้สึกว่าอาจจะได้รับความเสี่ยงจากการใช้แอปฯจากการไปมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าเท่านั้น
References
เกิ่ง ลี. (2559). 'Blued' แอพฯที่เป็นมากกว่าการหาคู่ให้เกย์จีน. สืบค้น 25 ตุลาคม 2560, จาก https://news.voicetv.co.th/world/153510.html
ธีรพล รุผักชี. (2553). พฤติกรรมและทัศนคติด้านเพศของวัยรุ่นที่เป็นผลมาจากการ สนทนาผ่านโปรแกรมแคมฟรอก (Camfrog). สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2561, จาก http://doi.nrct.go.th
นิพนธ์ ดาราวุฒิมาประกรณ์. (2559). ชายรักชายในไทย ข้อมูลใหม่มีอยู่ 3%. สืบค้น 16 สิงหาคม 2560, จาก https://www.thairath.co.th/content/707729
พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2557). อัตลักษณ์และความรุนแรงทางเพศของวัยรุ่นไทยในอินเทอร์เน็ต. วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา, 1(3), 10-13.
พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2560). อนามัยการเจริญพันธุ์ในมิติของสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
ภัทรเวช ฟุ้งเฟื่อง. (2557). การศึกษารูปแบบการบริโภคสื่อประเภทแอปพลิเคชันของกลุ่มผู้รับสารชายรักชาย: กรณีศึกษาแอปพลิเคชัน Grindr. สืบค้น 24 ตุลาคม 2560, จาก http://beyond.library.tu.ac.th
วรรณี ศิริรัตน์รุ่งเรือง. (2547). ตัวตนและการนำเสนอตัวตนของผู้หญิงในเว็บไซต์หาคู่. สืบค้น 5 มีนาคม 2561, จาก http://tdc.thailis.or.th/tdc//browse
ศศิธร สิมคำ. (2553). ประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยในวัยรุ่นหญิง. สืบค้น 5 มีนาคม 2561, จาก http://tdc.thailis.or.th/tdc//browse
สันต์ทศน์ กาญธีรานนท์. (2558). แอพพลิเคชั่นหาคู่นอนชั่วคราว. สืบค้น 25 ตุลาคม 2560, จาก http://thaneth65.blogspot.com
สุภางค์ จันทวานิช. (2557). ทฤษฎีสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถิต วงศ์สวรรค์. (2544). การพัฒนาบุคลิกภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.
Geertz, Clifford. (1973). The interpretation of cultures. New York: Basic Books.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.