โต๊ะบีแด :การดำรงอยู่และการปรับตัวสู่สาธารณสุขสมัยใหม่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • เปรมสิรี ชวนไชยสิทธิ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 94000
  • อดิศร ศักดิ์สูง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา 90000

คำสำคัญ:

โต๊ะบีแด, การดำรงอยู่, สาธารณสุขสมัยใหม่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ เพื่อทำความเข้าใจการดำรงอยู่ของอาชีพโต๊ะบีแด (ผดุงครรภ์โบราณ) และการปรับตัวโดยเปลี่ยนบทบาทให้สอดคล้องกับการสาธารณสุขสมัยใหม่ ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย คือ จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ผลการศึกษา พบว่า ในปัจจุบัน 131 พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โต๊ะบีแดได้ลดจำนวนลงไปมาก เนื่องจากข้อจำกัดในการสืบทอดอาชีพ การเปลี่ยนแปลงค่านิยมของผู้คน และการขยายตัวของบริการสาธารณสุขของรัฐในพื้นที่ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แม้ว่าทำให้อาชีพนี้ลดน้อยถอยลงจนแทบหมดบทบาทก็ตาม แต่ไม่ได้ทำให้โต๊ะบีแดสูญหาย เพราะผู้คนหลายพื้นที่ยังคงใช้บริการจากโต๊ะบีแด โดยมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม ขณะที่โต๊ะบีแดก็พยายามปรับบทบาทให้สอดคล้องกับสาธารณสุขสมัยใหม่ของรัฐ การเอื้อประโยชน์ผ่านการผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับความรู้สมัยใหม่ให้กันและกันดังกล่าว ทำให้โต๊ะบีแดสามารถดำรงอยู่และปรับตัวเข้ากับสังคมชาวชุมชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้จนถึงปัจจุบัน

References

ขวัญชัย เกิดบางบอน. (2542). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำรงอยู่ของผดุงครรภ์โบราณชาวมุสลิมในงานอนามัยแม่และเด็ก: กรณีศึกษาหมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดระนอง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ดารณี อ่อนชมจันทร์. (2557). ผดุงครรภ์โบราณกับการดูแลแม่และเด็กชาวไทยมุสลิม ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 1(1), 9-15.

เจ๊ะบีเดาะ ดือราเซะ. โต๊ะบีแด บ้านเลขที่ 152 หมู่ 4 ตำบลตะปอเยาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส. (14 มิถุนายน2559). บทสัมภาษณ์.

เจ๊ะมือเล๊าะ หะสะนิ. โต๊ะบีแด บ้านเลขที่ 88 หมู่ 3 ตำบลตะปอเยาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส. (11 มิถุนายน 2559). บทสัมภาษณ์.

ซารีพ๊ะ โสะ. ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกำ จังหวัดยะลา. (6 สิงหาคม 2559). บทสัมภาษณ์.

นาดียะห์ หัสมา. พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. (20 กรกฎาคม 2559). บทสัมภาษณ์.

นูรีดา หวังแจ๊ะ. ผู้รับบริการจากโต๊ะบีแด บ้านเลขที่ 152 หมู่ 4 อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. (4 กรกฎาคม 2559). บทสัมภาษณ์.

เปรมสิรี ศักดิ์สูง. (2560). วิถีโต๊ะบีแด: การดำรงภูมิปัญญาพื้นบ้านสืบสานวัฒนธรรมชุมชน บริเวณสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.

พาตีเมาะ ลาเต๊ะ. ผู้รับบริการจากโต๊ะบีแด โรงพยาบาลศูนย์ยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. (7 สิงหาคม 2559). บทสัมภาษณ์.

มิสบะ กาลอ. พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลนราธิวาส อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส. (13 มิถุนายน 2559). บทสัมภาษณ์.

รอกีเยาะ สะนิ. โต๊ะบีแด บ้านเลขที่ 100/1 หมู่ที่ 4 ตำบลสะกำ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี. (3 กรกฎาคม 2559). บทสัมภาษณ์.

รอซีดะห์ อีแต. ผู้รับบริการจากโต๊ะบีแด บ้านเลขที่ 52 หมู่ 4 อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. (13 กรกฎาคม 2559). บทสัมภาษณ์.

รอบีย๊ะ มะนังซายา. โต๊ะบีแด บ้านเลขที่ 19 หมู่ 1 ตำบลจะกว๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา. (4 กรกฎาคม 2559). บทสัมภาษณ์.

โรงพยาบาลยะรังและเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอยะรัง. (2554). องค์ความรู้ ภูมิปัญญาโต๊ะบีแด อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

สีตีพาตีเม๊าะ สะนิ. โต๊ะบีแด บ้านเลขที่ 6/2 หมู่ 1 ตำบลจะกว๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา. (12 กรกฎาคม 2559). บทสัมภาษณ์.

สุดารัตน์ ธีระวร. (2547). บทบาทผดุงครรภ์โบราณใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (รายงานผลการวิจัย). ยะลา: ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้.

สุธน พรบัณฑิตย์ปัทมา. (2550). ภูมิปัญญาพื้นบ้านทางการแพทย์ของหมอตำแยมุสลิม (โต๊ะบีแด) ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย. นนทบุรี: กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก.

อนันต์ สุไลมาน, สุดา ภู่ทอง, สุดารัตน์ ธีระวร, นิมัสคูรา แว, และกรปรชุษณ์ ตยัคคานนท์. (2535). ความรู้ความคิดเห็นและพฤติกรรมด้านการฝากครรภ์ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในระดับตำบลผดุงครรภ์โบราณและมารดาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (รายงานผลการวิจัย). ยะลา: ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 12.

อัสหม๊ะ วาเลาะ. นักวิชาการสาธารณสุข โรงพยาบาลจังหวัดยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. (5 สิงหาคม 2559). บทสัมภาษณ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-21

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์