ความรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการในสังคมไทย : กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • กัญญาภัค พุ่มแย้ม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000
  • พิษนุ อภิสมาจารโยธิน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000

คำสำคัญ:

คนพิการ, ความรู้, ทัศนคติ, แนวโน้มการเลือกปฏิบัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับคนพิการ 2) เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อคนพิการ 3) เพื่อศึกษาแนวโน้มพฤติกรรมการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ กับแนวโน้มพฤติกรรมการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ โดยใช้กรณีศึกษาในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน ผู้วิจัยใช้แบบทดสอบความรู้และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ และสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับคนพิการระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=13.51) มีทัศนคติต่อคนพิการในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=3.69) มีแนวโน้มพฤติกรรมการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการอยู่ในระดับน้อย (gif.latex?\bar{X}=2.16) จากการศึกษา พบว่า ความรู้เกี่ยวกับคนพิการมีความสัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรมการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r= -0.369) ทัศนคติที่มีต่อคนพิการมีความสัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรมการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 (r= -0.669) นอกจากนี้ความรู้เกี่ยวกับคนพิการมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติที่มีต่อคนพิการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 (r= 0.358)

References

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2555). การดำเนินงานจดทะเบียนคนพิการทั่วประเทศ เดือนธันวาคม 2555. สืบค้น 20 กันยายน 2560, จาก https://www.m-society.go.th

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). การดำเนินงานจดทะเบียนคนพิการทั่วประเทศ เดือนสิงหาคม 2560. สืบค้น 20 กันยายน 2560, จาก https://www.m-society.go.th

กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล. (2556). สลดเด็กพิการกว่า 4 แสนคนไม่ได้เข้า รร. ‘กฎหมาย-นโยบาย’ ดีแต่รัฐสอบปฏิบัติตก. สืบค้น 26 ตุลาคม 2560, จาก https://www.tcijthai.com

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2545). เกณฑ์ในการพิจารณาความสัมพันธ์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์. สืบค้น 20 กันยายน 2560, จาก https://www.ex-mba.buu.ac.th/Rearch/Bkk/Mk-6-Bkk/

เขมิกา พันธุ์วิไล. (2546). แนวโน้มการรับคนทำงานในสถานที่จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย.

จรัญ ภักดีธนากุล. (2553). การบรรยายพิเศษเรื่อง “การขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ : กฎหมายและวิธีปฏิบัติเพื่อความเป็นธรรมในสังคม”. สืบค้น 19 สิงหาคม 2560, จาก https://dep.go.th/law/file/document1.doc

ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ์, ปรีชา อุปโยคิน, และเทิดชัย ชีวะเกตุ. (2555). คนพิการขาขาดไทย : กระบวนการตีตราและการปรับตัว. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร, 22(2), 51-57.

เธียรสินี โภคทรัพย์. (2549). ความรู้และเจตคติของครูโรงเรียนศึกษาพิเศษต่อเด็กพิการทางการได้ยินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

นลัทพร ไกรฤกษ์. (2560). คนพิการอยู่ตรงไหนเมื่อรถเมล์ไทยเปลี่ยนสี. สืบค้น 26 ตุลาคม 2560, จาก https://thisable.me

นะโรดม อินต๊ะปัน. (2553). โอกาสของคนพิการในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในจังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย.

นิธิ นิธิวีรกุล. (2560). สิทธิเลือกตั้งของคนที่ถูกลืม. สืบค้น 20 กันยายน 2560, จาก https://waymagazine.org/

ปัทมาพร งึ้มนันใจ. (2560). การจ้างงานคนพิการในอาเซียน. สืบค้น 20 สิงหาคม 2560, จาก http://www.aseanthai.net

พิมพวรรณ เรืองพุทธ, และวรัญญา จิตรบรรทัด. (2556). ความรู้และการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการดูแลผู้พิการในชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนนาเคียน ตำบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 23(2), 32-43.

พงษ์พันธุ์ พุทธิวิศิษฎ์, และวารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2559). การส่งเสริมการมีส่วนร่วมเชิงธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของคนพิการจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 12(1), 1-21.

พริสม์ จิตเป็นธม. (2560). เบลล์บล็อกไทยไม่เวิร์ค นำทางคนตาบอดไปสู่อันตราย. สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2560, จาก https://www.workpoint.com/new

พวงแก้ว กิจธรรม. (2557). ทันสื่อล้อเลียนคนพิการ. สืบค้น 26 ตุลาคม 2560, จาก http://www.tddf.or.th

พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2549). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองตามยุทธศาสตร์เมืองไทยแข็งแรงของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยในจังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2557). รูปแบบการใช้การแพทย์แบบผสมผสานของผู้ป่วยโรคระบบกล้ามเนื้อและโครงร่าง ในจังหวัดนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 34(3), 171-189.

พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2560). เรื่องเพศกับการแพทย์ : อนามัยการเจริญพันธุ์ในมิติของสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ :ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.

เพ็ญจันทร์ ประดับมุข เชอร์เรอร์. (2555). เพศวิถีและอนามัยเจริญพันธุ์ของผู้หญิงพิการ. กรุงเทพฯ: สำนักกองสนับสนุนการวิจัย.

อนรรฆ พิทักษ์ธานิน, มนทการต์ ฉิมมามี, และปุณณฑรีย์ เจียวิริยบุญญา. (2556). การเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ เด็กและผู้สูงอายุ. สมุทรสาคร: พิมพ์ดีการพิมพ์.

อังกูร ทองสุนทร. (2555). ทัศนคติต่อการทำงานร่วมกับพนักงานผู้พิการทางสายตาของพนักงาน บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อัมรา สุนทรธาดา, อักษราภัค หลักฐาน, กุลภา วจนสาระ, และกฤตยา อาชวนิจกุล. (2555). สตรีผู้พิการและการเข้าถึงบริการอนามัยเจริญพันธุ์ ใน กุลภา วจนสาระ (บ.ก.), ประชากรชายขอบและความเป็นธรรมในสังคมไทย (น.167-181). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.

Daniel, WW. (1999). Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences (7th ed.). New York: John Wiley&Sons.

Schwartz, Nance E. (1975). Nutrition knowledge attitude and practice of high school graduated. Journal of The America Dietelic Association, 66, 28-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-21

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์