การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (5Es) เพื่อพัฒนาแนวคิดในระดับจุลภาค เรื่อง เซลล์กัลวานิก ผ่านการสร้างชิ้นงาน ภาพเคลื่อนไหว (Stop motion)
คำสำคัญ:
กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้, แนวคิดในระดับจุลภาค, เซลล์กัลป์วานิก, ภาพเคลื่อนไหวบทคัดย่อ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยกระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry : 5Es) เพื่อพัฒนาแนวคิดในระดับจุลภาค โดยในขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจเป็นขั้นที่ทำให้นักเรียนเกิดแนวคิดในระดับจุลภาคได้จากการปฏิบัติกิจกรรม นักเรียนสามารถสะท้อนผลของการทดลองด้วยการวาดภาพแบบจำลองแนวคิดเรื่องเซลล์กัลวานิก และนำมาสร้างชิ้นงานในระดับจุลภาคได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแนวคิดเรื่องเซลล์กัลวานิกในระดับจุลภาค ผ่านการสร้างชิ้นงานภาพเคลื่อนไหว (Stop motion) ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังจากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ ผ่านการสร้างชิ้นงาน ภาพเคลื่อนไหว ทำการศึกษาโดยเก็บข้อมูลจากแบบวัดแนวคิด เรื่อง เซลล์กัลวานิกและแบบประเมินชิ้นงานภาพเคลื่อนไหวในระดับจุลภาค วิเคราะห์ข้อมูลโดยอ่านคำตอบของนักเรียนอย่างละเอียดแล้วตีความเพื่อจำแนกกลุ่มคำตอบของนักเรียนตามแนวคิดของ Brickhouse และคณะ นำเสนอในรูปแบบร้อยละ และประเมินชิ้นงานภาพเคลื่อนไหว (Stop motion) ในระดับจุลภาค ผลการวิจัย พบว่า หลังจากได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยกระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ ร้อยละ 85.8 มีแนวคิดที่ถูกต้อง (SU) และร้อยละ 14.2 มีแนวคิดถูกต้องบางส่วน (PU) และไม่มีประเด็นใดที่นักเรียนไม่มีแนวคิด สำหรับชิ้นงาน Stop motion นักเรียนสามารถจำลองแสดงการเกิดเซลล์กัลวานิกที่สะท้อนถึงการถ่ายโอนอิเล็กตรอนในระดับจุลภาคได้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยกระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ สามารถพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ในระดับจุลภาค เรื่อง เซลล์กัลวานิก ของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาและมีแนวคิดทางวิทยาศาสตร์เพิ่มสูงขึ้น
References
กิติยวดี สิทธิวรเดช. (2557). ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ไฟฟ้าเคมี โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหา. วารสารงานประชุมวิชาการ The national graduated research conference ครั้งที่34, 1649-1657.
พัชรี ร่มพะยอม วิชัยดิษฐ. (2558). ธรรมชาติของวิชาเคมีและการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับธรรมชาติของวิชา. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว, 31(2), 187-199.
ศศิเทพ ปิติพรเทพิน. (2555). การส่งเสริมความเข้าใจแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง การแบ่งเซลล์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการสร้างภาพเคลื่อนไหว. วารสารวิจัย มข, 2(1), 115-130.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี (สสวท.). (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
สนทยา บ้งพรม. (2558). การพัฒนาความเข้าใจมโนมติวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าเคมี ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ผสมผสานกับเทคนิคทำนาย-สังเกต-อธิบายในขั้นขยายความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัย.
อาทิตยา จิตร์เอื้อเฟื้อ. (2551). การส่งเสริมแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณในเรื่องการตอบสนองของพืชของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยวิธีสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อับดุลเลาะ อูมาร์. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง สมดุลเคมี ที่มีต่อแบบจำลองทางความคิด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล จังหวัดปัตตานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.