ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ... : ศึกษาเฉพาะกรณี โครงสร้างความรับผิดทางอาญากรณีความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหาย

ผู้แต่ง

  • วิรัตน์ นาทิพเวทย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา 90000

คำสำคัญ:

การกระทำให้บุคคลสูญหาย, โครงสร้างความรับผิดทางอาญา, การบังคับบุคคลให้หายสาบสูญ

บทคัดย่อ

การกระทำให้บุคคลสูญหายเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ ค.ศ. 2006 และสาระสำคัญของอนุสัญญาฉบับนี้ต้องการการผลักดันให้ประเทศภาคีบัญญัติให้การบังคับบุคคลให้สูญหายเป็นความผิดทางอาญา ซึ่งประเทศไทยยังไม่เป็นภาคีตามอนุสัญญาดังกล่าวเพียงแต่ลงนามในอนุสัญญาเท่านั้น ทั้งนี้การลงนามดังกล่าวประเทศไทยมีพันธะที่จะไม่สามารถกระทำสิ่งใดให้กระทบกระเทือนต่อสาระสำคัญอันเป็นวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฉบับนี้ และในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการผลักดันร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ... เพื่อบัญญัติให้การกระทำให้บุคคลสูญหายเป็นความผิดทางอาญา ซึ่งต้องกระทำโดยรอบคอบและมีความชัดเจนไม่กระทบกระเทือนถึงสาระสำคัญของอนุสัญญาดังกล่าว ประกอบกับการตีความกฎหมายอาญานั้นจะตีความเคร่งครัดตามตัวอักษร การที่บุคคลจะมีความผิดและรับโทษทางอาญานั้นต้องผ่านการพิจารณาตามโครงสร้างความรับผิดทางอาญา ดังนั้นการที่บัญญัติให้การกระทำใดเป็นความผิดทางอาญา ต้องมีการบัญญัติกฎหมายที่ชัดเจนและครอบคลุมถึงผู้กระทำ การกระทำ และวัตถุแห่งการกระทำ และพิจารณาในส่วนกฎหมายยกเว้นความผิด และกฎหมายยกเว้นโทษ ซึ่งบทความนี้มุ่งประสงค์ที่จะให้ผู้อ่านมีความเข้าใจความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหายในมุมมองการอธิบายเชิงโครงสร้างความรับผิดทางอาญาซึ่งประกอบด้วยการอธิบายองค์ประกอบความรับผิด การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ

References

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2561). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน ฉบับแก้ไขปรับปรุง (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2562). คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: กรุงสยามพับลิซชิ่ง.

คณพล จันทร์หอม. (2561). คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิดลักษณะ 10 ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย ลักษณะ 11 ความผิดเกี่ยวเสรีภาพและชื่อเสียง (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

คณิต ณ นคร. (2547). กฎหมายอาญาภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย. (2556). พจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย (พิมพ์ครั้งที่ 4). นครปฐม: รุ่งศิลป์การพิมพ์(1977).

คณะกรรมการนิติศาสตร์สากล. (2558). การบังคับให้สูญหายและการสังหารนอกกระบวนยุติธรรม: การสืบสวน การสอบสวนและการลงโทษ คู่มือสำหรับผู้ปฏิบัติงาน เล่ม 9. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

จิตติ ติงศภัทิย์. (2555). กฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2562). กฎหมายอาญาภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

นพพงษ์ จูห้อง. (2558). กฎหมายอาญา 2 (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เพลินตา ตันรังสรรค์. (2558). หลักการและสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย. จุลนิติ, 12(2), 80-87.

มานิตย์ วงศ์เสรี. (2562). นิติวิธีการใช้และการตีความกฎหมายศึกษาเปรียบเทียบระบบกฎหมายไทยและระบบกฎหมายของเยอรมัน. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

วงพลอย นวลอ่อน. (2556). การกำหนดความรับผิดทางอาญาฐานบังคับบุคคลให้สูญหาย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วินัย ล้ำเลิศ. (2557). กฎหมายอาญา 1 (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สัญชัย สัจจวานิช. (ม.ป.ป.). คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ และความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

สิทธิกานต์ ธีระวัฒนชัย. (2562). มาตรการป้องกันและปราบปราม "การบังคับบุคคลให้สูญหาย” : พันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยต้องปฏิบัติตาม. กฤษฎีกาสาร, 14(6),16-17.

สิริรัตน์ ศรีลัคนาภรณ์. (2552). สิทธิของเหยื่อตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ ค.ศ. 2006 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุปัน พูลพัฒน์. (2521). คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ตอน 2 (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: นิติบรรณการ.

หยุด แสงอุทัย. (2516). คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-21

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ