พฤติกรรมการบริหารการเงินตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สมรรถนะผู้ประกอบการและความได้เปรียบด้านตำแหน่งที่มีอิทธิพลต่อผลประกอบการทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สาขาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ธนพร หอมละออ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กรุงเทพมหานคร 10220
  • กฤชนนท์ บึงไกร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กรุงเทพมหานคร 10220
  • วัฒนา ยืนยง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กรุงเทพมหานคร 10220

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริหารการเงินตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, สมรรถนะผู้ประกอบการ, ความได้เปรียบด้านตำแหน่ง, ผลประกอบการทางการเงิน, อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางตรงและทางอ้อมของพฤติกรรมการบริหารการเงินตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สมรรถนะของผู้ประกอบการ และความได้เปรียบทางด้านตำแหน่งที่มีอิทธิพลต่อผลประกอบการทางการเงินของ SMEs ในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทย การศึกษาประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 4 ตัวแปร และตัวแปรประจักษ์ 20 ตัวแปร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน ซึ่งผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักในการขับเคลื่อนกระบวนการศึกษาและเสริมด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ ผู้ประกอบการ SMEs ที่ทำการค้าและส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย จำนวน 223 ราย และสัมภาษณ์ผู้ประกอบการอีกจำนวน 3 ราย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ SEM ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการบริหารการเงินตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลประกอบการทางการเงิน สมรรถนะของผู้ประกอบการ และความได้เปรียบด้านตำแหน่งทางการตลาด อีกทั้งยังมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อผลประกอบการทางการเงินโดยผ่านปัจจัยสมรรถนะของผู้ประกอบการและปัจจัยความได้เปรียบด้านตำแหน่งทางการตลาดของ SMEs ในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยอย่างมีนัยสำคัญ

References

กระทรวงการคลัง สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค. (2558). รายงานประจำปี 2558. กรุงเทพฯ: กระทรวงการคลัง.

ณดา จันทร์สม. (2555). ธุรกิจกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. ใน การประชุมวิชาการ “15 ปี จากวิกฤตเศรษฐกิจ: เศรษฐกิจพอเพียงกับความยั่งยืนของสังคมไทย” (น.1-25). กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี. (2550). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: ความเป็นมาและความหมาย. ใน การสัมมนาวิชาการ เรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารการพัฒนา (น. 11-18.). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พรชนก ทองลาด. (2553). การบริหารการเงินตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ประกอบการในจังหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ (รายงานผลการวิจัย). ลำปาง: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

ศศิธร มหาคุณาจีระกุล. (2554). ตัวแบบการศึกษาปัจจัยเชิงเหตุและผลของการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับองค์กรวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ. (2558ก). รายชื่อผู้นำเข้าส่งออกของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ.

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ. (2558ข). รายงานสถานการณ์การค้าในตลาดโลกประจำปี. กรุงเทพฯ: ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ.

สาทิตร์ ม่วงหมี, ศลิล วัชรพงษ์กิตติ, และสุดาพร สาวม่วง. (2557). รูปแบบการตลาดที่ยั่งยืนของธุรกิจขนาดย่อม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารสมาคมนักวิจัย, 19(1), 20-31.

สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา. (2550). เอกสารเผยแพร่ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา.

Ahmad, N.H. (2007). A cross cultural study of entrepreneurial competencies and entrepreneurial success in SMEs in Australia and Malaysia (Doctoral dissertation). Australia: The University of Adelaide Australia.

Ahmad, N.H., Ramayah, T., Wilson, C., & Kummerow, L. (2010). Is entrepreneurial competency and business success relationship contingent upon business environment? a study of Malaysian SMEs. International Journal of Entrepreneurial Behavior & Research, 16(3), 182-203.

Chew, D.A.S., Yan, S., & Cheah, C.Y.J. (2008). Core capability and competitive strategy for Construction SMEs in chian. Chinese Management Studies, 2(3), 203-214.

Hair, J. F., Anderson, R. E., Tatham, R. L., and Black, W.C. (1998). Multivariate data analysis (5th ed.). New Jersey: Prentice-Hall, Inc.

He, W., & Nie, M. (2008). The impact of innovation and competitive intensity on positional advantage and firm performance. The Journal of American Academy of Business, 14(1), 205-209.

Matear, S., Gray, B.J., & Garrett, T. (2004). Market orientation, brand investment, new service development, market position and performance for service organizations. International Journal Service Industry Management, 15(3), 284-301.

Sanchez, J. (2012). The influence of entrepreneurial competencies on small firm performance. Revista Latinoamericana de Psicologia, 44(2), 165-177.

Siriluck Thongpoon, & Noor Hazlina Ahmad. (2012). Sustainablity of SMEs in Southern Thailand : the roles of sufficiency economy and strategic competency. Journal of Asia-pacific Business, 12(1), 207-224.

Siriluck Thongpoon, Noor Hazlina Ahmad, & Sofri Yahya. (2012). Sustainable performance of Thai SMEs : Investigating the entrepreneurial competencies and sufficiency economy philosophy. Asia Pacific Journal of Management & Entrepreneurship Research, 1(2), 5-20.

Tan, Q., & Sousa, C.M.P. (2015). Leveraging marketing capabilities into competitive advantage and export performance. International marketing review, 32(1), 78-102.

Teerayout Wattanasupachoke. (2009). Sufficiency economy principles : Applications for organization management strategy. Journal of American Academy of Business, Cambridge, 14(2), 263-270.

Vytlacil, L. L. (2010). Market orientation and business performance : The role of positional advantage. United States: ProQuest Dissertations Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-13

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์