พฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนในตำบลหัวทุ่ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่
คำสำคัญ:
พฤติกรรมสุขภาพ, ความรู้, สุขภาพ, ผู้ปกครอง, เด็กก่อนวัยเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนในตำบลหัวทุ่ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 2) เพื่อศึกษาความรู้ของผู้ปกครองในการส่งเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนในตำบลหัวทุ่ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 3 )เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลและความรู้ของผู้ปกครองในการส่งเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนกับพฤติกรรมของผู้ปกครอง ในการดูแลสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนในตำบลหัวทุ่ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียนในตำบลหัวทุ่ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ จำนวน 105 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ผู้ปกครองมีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 86.29 โดยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 17.26 (คะแนนเต็ม 20 คะแนน) มีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.94 และความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครองกับพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครองไม่มีความสัมพันธ์กัน
References
คณะเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวทุ่ง. (2559). รายงานประชากรในตำบลหัวทุ่ง. แพร่: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวทุ่ง.
จันทิรา สิทธิโชค, และนวลศรี วิจารณ์. (2542). บทบาทของบิดามารดาในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 22(3), สืบค้นจาก http://advisor.anamai.moph.go.th/main.php?filename=JHealthVol22No3_05
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะพยาบาลศาสตร์. (2554). การเลี้ยงดูเด็กวัยก่อนเข้าเรียน. สืบค้น 15 สิงหาคม 2559, จาก http://www.formumandme.com/article.php?a=1193
ทัศนวรรณ รามณรงค์. (2557). ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (ทฤษฎีของธอร์นไดค์). สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://www.gotoknow.org/posts/555423
ธัญญลักษณ์ ใจบาน. (2556). อาหารและสารอาหาร. สืบค้น 15 ตุลาคม 2559, จาก https://thunyalak.wordpress.com/เนื้อหาบทเรียน/โรคขาดสารอาหาร/
ปัณณ์พัฒน์ จันทร์สว่าง. (2556). สุขภาพและความปลอดภัยในเด็กปฐมวัย. สืบค้น 14 ตุลาคม 2559, จาก http://taamkru.com/th/สุขภาพและความปลอดภัยในเด็กปฐมวัย/
พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2549). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองตามยุทธศาสตร์เมืองไทยแข็งแรงของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยในจังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2559). สารประชากรมหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้น 14 ตุลาคม 2559, จาก http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsrbeta/th/gazette.aspx
มานะ อะมะมูล. (2552). การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์. สืบค้น 10 มกราคม 2560, จาก http://www.pathumrat.ptpk.ac.th/mana_Online/m3/unit1/T1_n1_m3.html#
วสันต์ บุพศิริ. (2558). วัยและการเปลี่ยนแปลง. สืบค้น 5 กันยายน 2560, จาก http://www.namsongkran.com/2015/05/blog-post.html
สโรชา นันทพงศ์, นฤมล ศราชพันธุ์, และอภิญญา หิรัญวงษ์. (2557). ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการและพฤติกรรมการจัดอาหารสำหรับเด็กวัยก่อนเรียนของผู้ปกครองโรงเรียนรัฐบาลจังหวัดชุมพร. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 35(2), 235.
อรุณ แสงแก้ว. (2550). พฤติกรรมการดูแลเด็กเล็กของผู้ดูแลเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อุดมพร รักเถาว์, และจารุวรรณ วงษ์เวช. (2558). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ปกครองต่อการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 2(1), 52.