การวิจัยสถาบันเพื่อพัฒนาองค์กร
คำสำคัญ:
การวิจัยสถาบัน, การวิจัยนโยบาย, การพัฒนาองค์การ, การประกันคุณภาพบทคัดย่อ
การวิจัยสถาบันเป็นกระบวนการแสวงหาสารสนเทศหรือแนวทางปรับปรุงพัฒนาขององค์กร เพื่อประโยชน์ในการจัดหาข้อมูลสำหรับสนับสนุนการวางแผนการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจขององค์กร โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยที่เหมาะสมกับบริบทหรือองค์กรที่จะทำการศึกษา ปัจจุบันการวิจัยสถาบันนับเป็นศาสตร์หนึ่งที่มีแนวโน้มในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นำวิธีวิทยาการวิจัยมาใช้อย่างหลากหลายทั้งการวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงประเมิน การวิจัยเชิงปฏิบัติการ การวิจัยเชิงพัฒนา และการวิจัยเชิงอนาคตและประยุกต์ใช้ผลของการวิจัยสถาบันอย่างกว้างขวางขึ้นทั้งด้านสารสนเทศการศึกษา การวางนโยบาย การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การพัฒนา และการประกันคุณภาพการศึกษา โดยเป้าหมายสุดท้ายของการวิจัยสถาบันนั้นกลุ่มผู้ได้รับผลประโยชน์หลัก คือ นิสิตนักศึกษาเป็นสำคัญอนาคตของวิจัยสถาบันจึงมีแนวโน้มที่จะได้รับการยอมรับว่าเป็นวิชาชีพแขนงหนึ่งที่มีองค์ความรู้ มีการศึกษา อบรม และมีสมาคมวิชาชีพดูแลคุณภาพและส่งเสริมมาตรฐานของวิชาชีพต่อไป
References
กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์. (2558). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่2). สงขลา: เหรียญทองการพิมพ์.
กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย. (2561). วิจัยสถาบัน ...R2R...อะไร? และอย่างไร? ที่มหาวิทยาลัยต้องการ. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2561, จาก https://technology.kku.ac.th/wp-content/ITFilesD/IT007D.pdf
นพคุณ กสานติกุล, ปุณยนุช ดาวเที่ยง, และศิริรัตน์ เนาว์วงษ์. (2554). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการทำวิจัยสถาบันของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
มยุรี เสือคำราม, และสมศักดิ์ ลิลา. (2556). การวิจัยสถาบันกับการบริหารเชิงกลยุทธ์. วารสารบริหาร, 33(1), 95-100.
เยาวดี วิบูลย์ศรี. (2536). ผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการศึกษาจากงานวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจิตร ศรีสอ้าน. (2552). นวัตกรรมการวิจัยสถาบัน ใน คณะกรรมการจัดงานพชร พรรษกิตติการ (บ.ก.). นวัตกรรมวิจัย. (น. 17-34). กรุงเทพฯ: มูลนิธิศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน.
วิจิตร ศรีสอ้าน. (2553). พัฒนาการของการวิจัยสถาบันในประเทศไทยจากยุค 1970. ใน การประชุมวิชาการวิจัยสถาบัน เรื่อง มิติใหม่ของการวิจัยสถาบัน (น.1-11). กรุงเทพฯ: ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์.
สมชาติ โตรักษา. (2558). การทำงานประจำให้เป็นผลงานวิชาการอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน (R&D for CSWI). กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมพงษ์ สุขีเกตุ. (2540). คู่มือและแนวทางการปฏิบัติงาน งานวิจัยสถาบันและสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
อุทุมพร จามรมาน. (2527). การจัดวางระบบวิจัยสถาบันและสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: ทบวงมหาวิทยาลัย.
Ovink, S. Kalogrides. D, Nanney, M., and Delaney, P. (2018). College match and undermatch: Assessing student preferences, college proximity, and inequality in post-college outcomes. Research in Higher Education, 59(5), 553-590.
Saupe, J. L. (1990). The functional of Institutional research (2nd ed.). Florida: The Association for Institutional Research.
Swing, R. L., Ross, L E. (2016). A new vision for institutional research. Change: The Magazine of Higher Learning, 48(2), 6-13.