ภาวะทุกข์ยากของคู่สมรสที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง : กรณีศึกษาของคู่สมรสคู่หนึ่งในจังหวัดแพร่
คำสำคัญ:
ภาวะทุกข์ยาก, คู่สมรส, โรคหลอดเลือดสมองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะทุกข์ยากของคู่สมรสที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง 2) เพื่อศึกษาผลกระทบของภาวะทุกข์ยากที่มีต่อการดำรงชีวิตของคู่สมรสที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง 3) เพื่อศึกษาการปรับตัวและจัดการชีวิตเมื่อเผชิญภาวะทุกข์ยากของคู่สมรสที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ให้ข้อมูลในงานวิจัยนี้ ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ คู่สมรสคู่หนึ่ง (2 คน) และผู้ให้ข้อมูล คือ ญาติพี่น้องและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง (3 คน) ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสังเกต และทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดภาวะทุกข์ยากของ พิษนุ อภิสมาจารโยธิน โดยตีความหมายและฉายภาพผ่านประสบการณ์เรื่องเล่าของผู้ให้ข้อมูล โดยผลการวิจัยพบว่าโรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่ไม่สามารถคาดเดาได้ เป็นโรคที่ทำให้สภาพร่างกายสูญเสียระบบการทำงานและมีความรุนแรงของโรค แตกต่างกัน ส่วนผลกระทบของภาวะทุกข์ยาก พบว่า ได้รับผลกระทบในเรื่องการหารายได้ การเป็นผู้พิการ และผู้ดูแล และความเจ็บปวดจากโรคที่เป็นส่งผลต่อสุขภาวะด้านจิตใจ การปรับตัวและจัดการชีวิตตนเอง พบว่า มีการปรับตัวและจัดการที่ดีภายใต้อาการการเจ็บป่วย มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มีการฝึกและบำบัดร่างกาย มีการฝึกสมอง ฝึกการใช้มือข้างที่ไม่ถนัด มีการหยุดคิดก่อนทำ และร่วมกันตัดสินใจ มีการยอมรับสภาพความจริง และหาที่พึ่งทางธรรม มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง มีกำลังใจที่ดี นอกจากนี้การประกอบอาชีพก็เปลี่ยนมาทำตามความถนัดและไม่เกินกำลังความสามารถ โดยสามารถประกอบอาชีพร่วมกับคนอื่นในชุมชนได้
References
กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์. (2550). จิตวิทยาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ฐานบัณฑิต.
จำเนียร ช่วงโชติ. (2536). จิตวิทยาความแตกต่าง (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เจียมจิต แสงสุวรรณ. (2541). โรคหลอดเหลือดสมอง : การวินิจฉัยและจัดการทางการพยาบาล. ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท.
ธิดารัตน์ อภิญญา, และนิตยา พันธุเวทย์. (2555). ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก ปี 2554 (งบประมาณ ปี 2555). สืบค้น 30 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.thaincd.com/document/file/news
นัฏกานท์ มะโนยานะ. (2560). แบบรายงานการตรวจราชการระดับจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 หัวข้อ สาขาโรคหลอดเลือดสมอง จังหวัดแพร่ เขตสุขภาพที่ 1. สืบค้น 10 ตุลาคม 2560, จาก https://www.pro.moph.go.th/evaluation/images/sp_โรคหลอดเลือดสมอง.pdf
เบญจมาศ ถาดแสง, ดวงฤดี ลาศุขะ, และทศพร คำผลศิริ. (2555). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและค่าความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร, 39(4), 124-137.
ปิติกานต์ บูรณาภาพ. (2552). คู่มือดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตและผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ยูโรปา เพรส.
พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2560). เรื่องเพศกับการแพทย์ : อนามัยการเจริญพันธุ์ในมิติของสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
วราลักษณ์ ทองใบประสาท, ชมนาด วรรณพรศิริ, จรรจา สันตยากร, และทวีศักดิ์ ศิริพรไพบูลย์. (2549). ประสบการณ์การปรับตัวต่อการเจ็บป่วยของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่อาศัยในตำบลแสนตอ อำเภอชาณุวรลักษณ์บุรี จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 1(1), 72-84.
สิรโรจน์ สกุลณะมรรคา. (2557). การปรับตัวของพนักงานต่างชาติต่อบริบทการทำงานแบบไทยกรณีศึกษา พนักงานต่างชาติที่ทำงานในบริษัทโตโยต้ามอเตอร์ เอเซียแปซิฟิก-วิศวกรรมการผลิต จำกัด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเนชั่น.
สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. (2552). ความเจ็บป่วย = โรค + ความทุกข์. สืบค้น 22 กันยายน 2559, จาก https://www.doctor.or.th/clinic/detail/7902
สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2552). สถิติสาธารณสุข ปี 2552. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
องอาจ นัยพัฒน์. (2548). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อรุณี อ่อนสวัสดิ์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Kleinman, Arthur, Das, Veena, & Lock, Margaret. (1984). Socal suffering. America: The United States of America.