ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับการจัดการเรือนร่างตนเองของคนอ้วนในจังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, การจัดการเรือนร่างตนเอง, คนอ้วนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของคนอ้วน 2) เพื่อศึกษาการจัดการเรือนร่างตนเองของคนอ้วน 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับการจัดการเรือนร่างตนเองของคนอ้วนในจังหวัดพิษณุโลก งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นคนอ้วนในจังหวัดพิษณุโลก 360 คน ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า คนอ้วนมีการรับรู้ตามแบบความเชื่อด้านสุขภาพอยู่ในระดับมาก (= 4.01) มีการจัดการเรือนร่างตนเองอยู่ในระดับปานกลาง (= 2.98) และการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและสิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติมีความสัมพันธ์กับการจัดการเรือนร่างตนเองของคนอ้วนในจังหวัดพิษณุโลกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = 0.173)
References
กุศลิน อินทชาญ, เบญจวรรณ โพแก้ว, พรรณธิภา เลี้ยงประเสริฐ, พิสมัย ดวงตะปะ, รพีพร แซ่ลิ่ม, วิลัยลักษณ์ อัดฮาด, ... อาลิษา ศรีบุญเรือง. (2551). การศึกษาพฤติกรรมการลดความอ้วนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
นันทาศิริ แก้วพันสี, ภิชา งามสิทธิโชค, วราพร ศรทรง, วิลาสินี มากจุ้ย, และสายเพชร ว่องไวพิทยา. (2547). การประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาลดความอ้วนที่ได้รับจากสถานพยาบาลเอกชนของสตรีในจังหวัดพิษณุโลก (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พัสตราภรณ์ แย้มเม่น. (2554). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพโดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมน้ำหนักของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2549). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองตามยุทธศาสตร์เมืองไทยแข็งแรงของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยในจังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2557). รูปแบบการใช้การแพทย์แบบผสมผสานของผู้ป่วยโรคระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างในจังหวัดนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 34(3), 171-189.
พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2560). เรื่องเพศกับการแพทย์ : อนามัยการเจริญพันธุ์ในมิติของสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:ราชบัณฑิตยสถาน.
วันชัย ตัน. (2545). อ้วนแล้วไง. กรุงเทพฯ: สารคดี.
ศูนย์อนามัยที่ 9 พิษณุโลก. (2552). รายงานประจำปี 2552 ศูนย์อนามัยที่ 9 พิษณุโลก. สืบค้น 21 ธันวาคม 2559, จาก http://hpc2.anamai.moph.go.th/eval
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2559). รายงานสถานการณ์โรค NCDs ฉบับที่ 2 “Kickoff to the Goals”. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
สุชาติ อิสริยปาลกุล, สันติ สิริมีนนันท์, ไตรรัตน์ ชั่งใจ, ณัฏพงศ์ อมรปิยศิริ, อภิสิทธิ์ บุญปาสาน, ศิริภรณ์ อิบรอฮีม, ... สุธีรา ประเสริฐศักดิ์. (2549). การศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการลดความอ้วนของวัยรุ่น (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
สุทัชชา เวฬุสุวรรณ. (2546). การศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ลดความอ้วนประเภทอาหารควบคุมน้ำหนักเฉพาะหัวบุกของคนกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Nj: Lawrence Erlbaum.
Daniel, W. (1999). Biostatistics: a foundations for analysis in the health sciences (7th ed.). New York: John Wiley & Sons.
Grogan, S. (1999). Body Image :understanding body dissatisfaction in men, women and children. New York: Routkege.