ความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างวาทกรรม และปฏิบัติการทางวาทกรรมกับการประกอบสร้างความจริงในโลกไซเบอร์ บนเฟซบุค

ผู้แต่ง

  • พงษ์กฤษณ์ จันทร์เชื้อ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000
  • พิษนุ อภิสมาจารโยธิน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก 65000

คำสำคัญ:

การประกอบสร้างความจริงในโลกไซเบอร์, วาทกรรม, ปฏิบัติการทางวาทกรรม, เฟซบุค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการสร้างวาทกรรมของผู้ใช้เฟซบุค 2) เพื่อศึกษาปฏิบัติการทางวาทกรรมของผู้ใช้เฟซบุค 3) เพื่อศึกษาการประกอบสร้างความจริงในโลกไซเบอร์ของผู้ใช้เฟซบุค 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างวาทกรรมและปฏิบัติการทางวาทกรรมกับการประกอบสร้างความจริงในโลกไซเบอร์ของผู้ใช้เฟซบุค การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้งานเฟซบุคที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปในจังหวัดพิษณุโลก โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 75 คน ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ และสัมประสิทธ์สหพันธ์แบบเพียร์สันในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการสร้างวาทกรรมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}= 2.17) ได้แก่ การผลิตวาทกรรมในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 2.91) การนำเสนอความรุนแรงเชิงสัญญะ และการสร้างความรับรู้ที่บิดเบือนในระดับน้อย (gif.latex?\bar{X}= 1.96 และ1.63) มีการปฏิบัติการทางวาทกรรมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 3.16) ได้แก่ มีการแชร์ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.56) มีการแสดงความคิดเห็น และมีการโพสต์ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}= 3.44 และ 2.56) มีการประกอบสร้างความจริงในโลกไซเบอร์ในระดับน้อย (gif.latex?\bar{X} = 2.35) ได้แก่ การทำให้กลายเป็นเรื่องปกติในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}= 2.71) มีการตีตราทางสังคม และมีการลงโทษทางสังคมในระดับน้อย (gif.latex?\bar{X}= 2.08 และ 2.03) นอกจากนี้การสร้างวาทกรรมและปฏิบัติการทางวาทกรรมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการประกอบสร้างความจริงในโลกไซเบอร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .573 และ.427)

References

จิรวุฒิ ลิมปนาทไพศาล. (2558). ความจริงจาก "ชายรองเท้ามีรู" เหยื่อโซเชียลผู้ถูกกล่าวหาว่า "โรคจิต". โพสต์ทูเดย์. สืบค้น 28 สิงหาคม 2558, จาก http://www.posttoday.com/social/hot/.html

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2545). วาทกรรมการพัฒนา : อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น. วิภาษา, (4), 87-100.

พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2557). รูปแบบการใช้การแพทย์แบบผสมผสานของผู้ป่วยโรคระบบกล้ามเนื้อและโครงร่าง ในจังหวัดนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 34(3), 171-189.

พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2560). เรื่องเพศกับการแพทย์ : อนามัยการเจริญพันธุ์ในมิติของสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2558). ผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2558. สืบค้น 28 สิงหาคม 2559, จาก https://www.etda.or.th/publishingdetail/value-of-e-commerce-survey-2015.html

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2559). ผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2559. สืบค้น 17 มีนาคม 2560, จาก https://www.etda.or.th/publishingdetail/value-of-e-commerce-survey-2016.html

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). USA: Routledge.

Daniel, W. (1999). Biostatistics: a foundations for analysis in the health sciences (7th ed.). New York: John Wiley & Sons.

Foucault, M. (1972). The archaeology of knowledge and discourse on language. New York: Pantheon Books.

Humm, Maggie. (1989). Discourses of difference: an analysis of women's travel writing and Colonialism. New York: Pantheon Books.

Nice, Richard. (2001). Pierre Bourdieu, ''Masculine Domination''. California: Stanford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-06

ฉบับ

บท

บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์