ความสัมพันธ์ของสื่อสมัยใหม่กับการรับรู้ความรุนแรงทางเพศบนร่างกายผู้หญิงของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
ความรุนแรงทางเพศ, สื่อสมัยใหม่, การรับรู้, ร่างกายของผู้หญิงบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ความรุนแรงทางเพศบนร่างกายผู้หญิง 2) เพื่อศึกษาลักษณะและพฤติกรรมการใช้สื่อสมัยใหม่ที่แสดงถึงความรุนแรงทางเพศบนร่างกายผู้หญิง 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการใช้และพฤติกรรมการใช้สื่อสมัยใหม่กับการรับรู้ความรุนแรงทางเพศบนร่างกายผู้หญิง ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ในปีที่ 1-4 มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 376 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยหาค่าไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า นิสิตมีการรับรู้ความรุนแรงทางเพศบนร่างกายผู้หญิงในระดับปานกลาง ( = 3.18) และการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ พบว่า ลักษณะการใช้สื่อสมัยใหม่กับพฤติกรรมการใช้สื่อสมัยใหม่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับการรับรู้ความรุนแรงทางเพศบนร่างกายผู้หญิง มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = -0.377 และ =-0.298) แต่พฤติกรรมการใช้สื่อสมัยใหม่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับลักษณะการใช้สื่อสมัยใหม่ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (r = 0.432) ยิ่งมีการใช้สื่อสมัยใหม่มากขึ้นการรับรู้ความรุนแรงทางเพศบนร่างกายผู้หญิงจะเป็นเรื่องปกติ (Normalization) มากขึ้น
References
ชายไทย รักษาชาติ. (2546). สื่อมานุษยวิทยา: ปรากฎการณ์ความรุนแรงทางเพศต่อผู้หญิงในอินเตอร์เน็ต. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
บุบผา พวงมาลี. (2542). การรับรู้ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2549). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองตามยุทธศาสตร์เมืองไทยแข็งแรงของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยในจังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2560). ประชากรศาสตร์และการอนามัยเจริญพันธุ์. พิษณุโลก: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ภาณุวัฒน์ กองราช. (2552). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นในประเทศไทย : กรณีศึกษา Facebook (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ราวลองบัส. (2559). นัยแห่งการ(จ้อง)มองในนิตยสาร Significance of Gaze in Magazine. สืบค้น 26 สิงหาคม 2559, จาก https://blogazine.pub/blogs/rawlongbus/post/5664
วราภรณ์ มีปาน. (2553). การรับรู้ข่าวสารด้านความรุนแรงในนิตยสารกอสซิปสตาร์ของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยานเรศวร.
วีรพงษ์ พวงเล็ก. (2554). สื่อลามกบนอินเทอร์เน็ต : อันตรายที่พึงระวังและแนวทางแก้ปัญหาต่อเยาวชนไทย. วารสารนักบริหาร, 31(2), 223-233.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). จำนวนนิสิตนักศึกษาทั้งหมดของสถาบันการศึกษาของรัฐจำแนกตามสถาบันการศึกษา ระดับการศึกษา และเพศ ปีการศึกษา 2557. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2559). ผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในไทย ปี 58 เผยคนไทยออนไลน์ผ่านมือถือทุกช่วงเวลา. สืบค้น 25 สิงหาคม 2559, จาก http://www.it24hrs.com/2015/thailand-internet-user-profile-2015-2558
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (ม.ป.ป). จำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปจำแนกตามอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. 2549-2558. สืบค้น 18 ตุลาคม2559, จาก http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries22.html
อารัตน์. (2557). โครงการสัมมนา “แนวโน้มเทคโนโลยี 2014 กับธุรกิจเพื่อการจัดการธุรกิจยุคไอที”. สืบค้น 18 ตุลาคม 2559, จาก https://anurat542.wordpress.com
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum.
Daniel, W. (1999). Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences (7th ed.). New York: Wiley.